รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ...
คำขวัญนี้มาจาก งานวันเด็ก ที่นายกฯ มอบให้วันเด็กในปี 2554 แต่ส่วนตัวเห็นว่ามันก็สามารถนำมาใช้ในชีวิตการทำงานได้เป็นอย่างดี..
และได้กระจายให้กับน้องๆ ในที่ทำงานได้ลองคิด และลองนำมาประยุกต์ใช้อย่างสม่ำเสมอในช่วงเดือนที่ผ่านมา
รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
จิตสาธารณะ โดยการ บริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย ที่ผ่านมา ได้จำนวน โลหิต ประมาณ 40,000 ซีซี ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี สำหรับการมีจิตสาธารณะ
2554/01/31
2554/01/26
พลังแห่งแรงดึงดูด
พลังแห่งแรงดึงดูด หรือ ความคิดที่ปรารถนาก็จะมีคนเข้ามาพูดถึงสิ่งนั้นอยู่เป็นประจำ
ช่วงนี้ต้องเร่งสร้างพลังแห่งความสร้างสรรค์ และดึงดูดแต่ความดีงามมาไว้ที่ครอบครัว และสังคมของเราให้มากขึ้น
และต่อไปนี้ ก็จะ ถือคติพจน์ของวันเด็ก เป็นคติพจน์ ในการทำงานตลอดปี 54 นี้..
รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
2554/01/23
เส้นทางนักบุญเปาโล (วัดนักบุญเปาโลกลับใจ บ้านนา นครนายก)
ในทริปนี้ตั้งเป้าไปสำรวจเส้นทางสามวัด หนึ่งคือ “วัดแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด หัวตะเข้”
สองคือ “วัดพระวิสุทธิวงส์ คลองสิบสอง” และสามคือ “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ บ้านนา” ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักการเดินทาง
หลังจากที่สำรวจเส้นทางแล้ว ตามความเห็นฉันว่าเส้นทางซับซ้อนวนไปวนมาพอสมควร ฉันไม่แนะนำให้ไปทีเดียวสามวัดนี้หรอกนะ ฉันว่าพุ่งไป “วัดนักบุญเปาโล บ้านนา” เลยดีกว่า แล้วแวะไหว้พระที่ “วัดพระผู้ไถ่เสาวภา” บนถนนเส้นเดียวกันดีกว่า คือตั้งอยู่ริมถนนรังสิต – องครักษ์ (เส้น 305 ประมาณกิโลเมตรที่ 43)สังเกตเห็นได้ง่ายและเด่นชัดทีดียว
“วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา” แรกเริ่มเดิมทีวัดนี้มีชื่อแปลกที่ฟังติดหูทันทีนั่นคือ วัดหัวควาย ตามประวัติไม่ได้บอกถึงที่มาของชื่อนี้ อาจจะตามชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือถนนก็เป็นได้ ต่อมาได้เปลี่ยนให้ไพเราะหูขึ้นว่า วัดศรีษะกระบือ (ก็ยังแปลกๆ อยู่ดี) และต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดเสาวภาตามชื่อของประตูน้ำเสาวภาผ่องศรี เห็นตัวโบสถ์หลังปัจจุบันสวยๆ ใหม่ๆ อย่างนี้ อย่าคิดว่าเป็นวัดใหม่เพิ่งสร้างนะ วัดนี้มีประวัติยาวนานไม่แพ้วัดอื่นเช่นกัน วัดน้อยหลังแรกเป็นหลังคามุงกระเบื้องว่าว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 (ตามประวัติที่มีการบันทึกไว้ว่ามีบุคคลแรกในบัญชีล้างบาปของวัดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน) และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสร้างใหม่ตลอดมา ทั้งตัวโบสถ์ และสถานที่โดยรอบ อาทิ สร้างบ้านพักพระสงฆ์ บ้านพักซิสเตอร์ บ้านเด็ก หอระฆังใหม่ ถมที่ป่าช้า หอพักนักเรียนกินนอน สร้างห้องแถวตลาดใหม่ โรงเรียน ตลอดจนถมดินเพื่อสร้างตัวโบสถ์ใหม่
ที่ได้ชื่อว่า “วัดพระผู้ไถ่” เพราะได้นำแบบวัดพระมหาไถ่ที่ประเทศฝรั่งเศสมาเป็นตัวอย่าง โดยให้นายช่างในประเทศไทยเป็นผู้ถอดแบบและเขียนแปลนสำหรับการก่อสร้าง (อ่านรายละเอียดได้ที่ www.catholic.or.th แล้วจะได้ทราบว่าตัวโบสถ์หลังปัจจุบันเป็นหลังที่เท่าไร)
หลังจากไหว้พระที่วัด “พระผู้ไถ่เสาวภา” แล้ว ก็ตรงดิ่งไปบนถนนรังสิต-องค์รักษ์ เส้นเดิม สังเกตด้านซ้ายมือให้ดีจะเห็นป้ายบอกทางก่อนถึงสี่แยกมีป้าย “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ” (อยู่อันล่างสุด เก่าๆ โปรดสังเกตให้ดี) เลี้ยวซ้ายโลด วิ่งไปสุดถนนจะเจอสามแยก ก็เลี้ยวซ้ายอีก แค่นี้ก็จะเห็นวัดอยู่ด้านซ้ายมือ ก็เลี้ยวซ้ายเข้าวัดกันเลย (จำง่ายๆ ว่าเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด)
“วัดนักบุญเปาโล บ้านนา” หรือ “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ” มีประวัติดังนี้ คริสตังจีนที่วัดหนองรีได้ย้ายที่ทำกินมาแถวบ้านนาเป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการเดินทางทำมาค้าขาย เมื่อคุณพ่อลารเกย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดหนองรีในเดือนเมษายน 1945 ที่บ้านนามีคริสตังมากกว่าที่หนองรีแล้ว คุณพ่อลารเกได้มาเยี่ยมคริสตังเหล่านี้เป็นประจำทุกอาทิตย์หลังจากเสร็จพิธีมิสซาที่หนองรีแล้ว โดยใช้บ้านและร้านของพวกเขาเป็นที่ทำมิสซาซึ่งมีแต่คริสตังที่อยู่ใกล้เคียงเท่านั้นที่สามารถไปร่วมพิธีมิสซาได้และสถานที่คับแคบ เนื่องจากยังไม่มีวัดและหากจะเดินทางไปวัดหนองรีก็ลำบากไม่น้อย คุณพ่อลารเกเห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อที่ดินสักแปลงหนึ่งเพื่อสร้างวัดแต่ท่านไม่มีทุน พอดีเวลานั้นสงครามโลกสงบลง พวกเชลยศึกในค่ายเขาชะโงกจะต้องเดินทางกลับประเทศของเขาแต่ยังมีศพเพื่อนทหารด้วยกันอีก 2 ศพ พวกเขาจึงเรี่ยรายเงินกันแล้วนำมาบริจาคให้คุณพ่อลารเกเพื่อใช้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งสำหรับสร้างวัดและให้ย้ายศพเพื่อนของเขามาไว้ในที่ดินผืนนั้นด้วย คุณพ่อลารเกได้นำเงินจำนวนนั้นมาซื้อที่นาแปลงหนึ่งใกล้กับตลาดบ้านนา และได้บอกบุญไปยังคริสตังตามที่ต่างๆ ในเขตมิสซัง ให้ช่วยสมทบทุนเพื่อสร้างวัดด้วย ที่สุดในวันที่ 8 มีนาคม 1946 ก็ได้ลงมือก่อสร้างวัด ในเดือนตุลาคม 1946 ทำพิธีเสกวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 1946 ในปี 1947 คุณพ่อเลโอนารด์ เป็นเจ้าอาวาสวัดได้สร้างบ้านพักซิสเตอร์และขอซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ มาช่วยงานที่วัดบ้านนา ในปี 1952 คุณพ่อเปแร็ง เจ้าอาวาสและคุณพ่อโกเชต์พ่อปลัดได้รื้อวัดและนำไม้มาสร้างเป็นโรงเรียนใช้ชื่อว่า โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา และใช้ห้องหนึ่งเป็นวัด ปี 1954 คุณพ่อโกเชต์ได้ซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายโรงเรียนและเตรียมสร้างวัด หลังจากนั้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาพร้อมๆ กับการผลัดเปลี่ยนเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน (อ่านรายละเอียดได้ที่ www.catholic.or.th วัดในเขต4 ) ป้ายชื่อวัดหน้าประตูรั้วทางเข้าโบสถ์คือ “วัดนักบุญเปาโล” ไม่มีคำว่า “กลับใจ” แต่สังเกตุให้ดีที่พื้นหน้าประตูโบสถ์จะเห็นป้ายวางศิลาฤกษ์ มีชื่อเต็มๆ คือ “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ”
ไหว้พระสุขใจกันแล้วก็ต้องหาสถานที่ท่องเที่ยวให้ครื้นเครงกันด้วย นครนายกมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายทุกรูปแบบ ทั้งแบบธรรมชาติ อาทิ น้ำตกนางรอง น้ำตกสาริกา วังตระไคร้ และน้ำตกอีกมากมาย ายแบบผจญภัยก็มีให้เลือก เช่นปีนหน้าผา ล่องแก่ง เพ้นท์บอล หรืออยากท่องเที่ยวแบบศึกษาวัฒนธรรมโบราณ อาทิ บ้านดงละคร หมู่บ้านไทยพรวน เพราะนครนายกเป็นจังหวัดที่เคยเป็นเมืองรุ่งเรืองสมัยทวาราวดีและสมัยอยุธยา ที่ได้ชื่อว่า “นครนายก” ก็มีหลักฐานเล่ากันว่า ที่ดินแถวนี้เป็นป่ารกชัฏที่ดอนทำนาหรือการเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล จนชาวบ้านอพยพหนีความแห้งแล้ง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทราบความเดือดร้อนจึงยกเลิกภาษีค่านาเพื่อจูงใจให้ชาวบ้านมาอาศัยที่เดิม จึงเรียกเมืองนี้กันติดปากว่า เมืองนา-ยก และยาวนานมาจนเป็น นครนายก
ทริปนี้ฉันประทับใจ “เขื่อนขุนด่านปราการชล” น่ะ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง เขื่อนนี้สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มีน้ำในการทำ
เกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน เห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน และชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน ตัวเขื่อนประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,593 เมตร ความสูง ( สูงสุด ) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขามีความจุ 224 ล้าน ลบม.
“เขื่อนขุนด่านปราการชล” เป็นชื่อพระราชทานเพื่อเชิดชูเกียรติคุณตำนานเจ้าพ่อขุนด่าน “ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน” ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าบุกไทยชาวเขมรลักเสบียง รังแกคนไทย หัวหน้าที่ชาวบ้านเรียกว่าขุนด่านจะใช้ม้าเร็วรับส่งข่าวรายงานไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอทัพมาปกป้องบ้านเมือง ปัจจุบันนี้ “ขุนด่าน”ยังคงอยู่และนำประโยชน์สุขแก่พี่น้องชาวนครนยกและชาวไทยในแง่การดำรงชีพทำการเกษตรกว่า 5,400 ครัวเรือน ให้มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค บรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่นน้ำ
นครนายก อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา แหล่งประมงน้ำจืด และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดนครนายกขยายตัว ราษฎรมีรายได้มากขึ้น (บริเวณด้านล่างก่อนทางขึ้นเขื่อน มีร้านค้า ร้านอาหารน่ารับประทานมากมาย ลองแวะชิมกันได้) ในวันที่ฉันแวะไปชมความงามที่เขื่อนขุนด่านนี้ ฝนตกน่ะ
ตอนแรกฉันก็คิดว่า แย่จัง โชคไม่ดีเลย แต่พอรถไปจอดที่ริมเขื่อน ฉันกลับเห็นความงามอีกมุมมองหนึ่ง นั่นคือความสวยงามของสายฝนที่โปรยปราย และกลุ่มเมฆหมอกที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำและแนวทิวเขา เป็นความงามที่ฉัน
ไม่มีวันลืมเลือนได้เลย (ฉันอดใจไม่ไหว ต้องกางร่มลงจากรถมาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกเชียวล่ะ)
ก่อนกลับกรุงเทพฯ ต้องผ่านคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จึงแวะชมความงามของไม้ดอกไม้ใบนานาพันธุ์ที่ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 คนที่กำลังมองหาต้นไม้เพื่อตกแต่งสวน นักท่องเที่ยวที่หลงใหลในสีสันของพันธุ์ไม้ไม่ควรพลาดที่จะแวะชม อีกทั้งสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากไม้มะม่วง มีแหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลทรายมูลในอำเภอองครักษ์ และเลือกซื้อผลไม้มากมายติดไม้ติดมือกลับบ้านสบายใจ
สองคือ “วัดพระวิสุทธิวงส์ คลองสิบสอง” และสามคือ “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ บ้านนา” ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักการเดินทาง
หลังจากที่สำรวจเส้นทางแล้ว ตามความเห็นฉันว่าเส้นทางซับซ้อนวนไปวนมาพอสมควร ฉันไม่แนะนำให้ไปทีเดียวสามวัดนี้หรอกนะ ฉันว่าพุ่งไป “วัดนักบุญเปาโล บ้านนา” เลยดีกว่า แล้วแวะไหว้พระที่ “วัดพระผู้ไถ่เสาวภา” บนถนนเส้นเดียวกันดีกว่า คือตั้งอยู่ริมถนนรังสิต – องครักษ์ (เส้น 305 ประมาณกิโลเมตรที่ 43)สังเกตเห็นได้ง่ายและเด่นชัดทีดียว
“วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา” แรกเริ่มเดิมทีวัดนี้มีชื่อแปลกที่ฟังติดหูทันทีนั่นคือ วัดหัวควาย ตามประวัติไม่ได้บอกถึงที่มาของชื่อนี้ อาจจะตามชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือถนนก็เป็นได้ ต่อมาได้เปลี่ยนให้ไพเราะหูขึ้นว่า วัดศรีษะกระบือ (ก็ยังแปลกๆ อยู่ดี) และต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดเสาวภาตามชื่อของประตูน้ำเสาวภาผ่องศรี เห็นตัวโบสถ์หลังปัจจุบันสวยๆ ใหม่ๆ อย่างนี้ อย่าคิดว่าเป็นวัดใหม่เพิ่งสร้างนะ วัดนี้มีประวัติยาวนานไม่แพ้วัดอื่นเช่นกัน วัดน้อยหลังแรกเป็นหลังคามุงกระเบื้องว่าว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 (ตามประวัติที่มีการบันทึกไว้ว่ามีบุคคลแรกในบัญชีล้างบาปของวัดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน) และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสร้างใหม่ตลอดมา ทั้งตัวโบสถ์ และสถานที่โดยรอบ อาทิ สร้างบ้านพักพระสงฆ์ บ้านพักซิสเตอร์ บ้านเด็ก หอระฆังใหม่ ถมที่ป่าช้า หอพักนักเรียนกินนอน สร้างห้องแถวตลาดใหม่ โรงเรียน ตลอดจนถมดินเพื่อสร้างตัวโบสถ์ใหม่
ที่ได้ชื่อว่า “วัดพระผู้ไถ่” เพราะได้นำแบบวัดพระมหาไถ่ที่ประเทศฝรั่งเศสมาเป็นตัวอย่าง โดยให้นายช่างในประเทศไทยเป็นผู้ถอดแบบและเขียนแปลนสำหรับการก่อสร้าง (อ่านรายละเอียดได้ที่ www.catholic.or.th แล้วจะได้ทราบว่าตัวโบสถ์หลังปัจจุบันเป็นหลังที่เท่าไร)
หลังจากไหว้พระที่วัด “พระผู้ไถ่เสาวภา” แล้ว ก็ตรงดิ่งไปบนถนนรังสิต-องค์รักษ์ เส้นเดิม สังเกตด้านซ้ายมือให้ดีจะเห็นป้ายบอกทางก่อนถึงสี่แยกมีป้าย “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ” (อยู่อันล่างสุด เก่าๆ โปรดสังเกตให้ดี) เลี้ยวซ้ายโลด วิ่งไปสุดถนนจะเจอสามแยก ก็เลี้ยวซ้ายอีก แค่นี้ก็จะเห็นวัดอยู่ด้านซ้ายมือ ก็เลี้ยวซ้ายเข้าวัดกันเลย (จำง่ายๆ ว่าเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด)
“วัดนักบุญเปาโล บ้านนา” หรือ “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ” มีประวัติดังนี้ คริสตังจีนที่วัดหนองรีได้ย้ายที่ทำกินมาแถวบ้านนาเป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการเดินทางทำมาค้าขาย เมื่อคุณพ่อลารเกย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดหนองรีในเดือนเมษายน 1945 ที่บ้านนามีคริสตังมากกว่าที่หนองรีแล้ว คุณพ่อลารเกได้มาเยี่ยมคริสตังเหล่านี้เป็นประจำทุกอาทิตย์หลังจากเสร็จพิธีมิสซาที่หนองรีแล้ว โดยใช้บ้านและร้านของพวกเขาเป็นที่ทำมิสซาซึ่งมีแต่คริสตังที่อยู่ใกล้เคียงเท่านั้นที่สามารถไปร่วมพิธีมิสซาได้และสถานที่คับแคบ เนื่องจากยังไม่มีวัดและหากจะเดินทางไปวัดหนองรีก็ลำบากไม่น้อย คุณพ่อลารเกเห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อที่ดินสักแปลงหนึ่งเพื่อสร้างวัดแต่ท่านไม่มีทุน พอดีเวลานั้นสงครามโลกสงบลง พวกเชลยศึกในค่ายเขาชะโงกจะต้องเดินทางกลับประเทศของเขาแต่ยังมีศพเพื่อนทหารด้วยกันอีก 2 ศพ พวกเขาจึงเรี่ยรายเงินกันแล้วนำมาบริจาคให้คุณพ่อลารเกเพื่อใช้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งสำหรับสร้างวัดและให้ย้ายศพเพื่อนของเขามาไว้ในที่ดินผืนนั้นด้วย คุณพ่อลารเกได้นำเงินจำนวนนั้นมาซื้อที่นาแปลงหนึ่งใกล้กับตลาดบ้านนา และได้บอกบุญไปยังคริสตังตามที่ต่างๆ ในเขตมิสซัง ให้ช่วยสมทบทุนเพื่อสร้างวัดด้วย ที่สุดในวันที่ 8 มีนาคม 1946 ก็ได้ลงมือก่อสร้างวัด ในเดือนตุลาคม 1946 ทำพิธีเสกวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 1946 ในปี 1947 คุณพ่อเลโอนารด์ เป็นเจ้าอาวาสวัดได้สร้างบ้านพักซิสเตอร์และขอซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ มาช่วยงานที่วัดบ้านนา ในปี 1952 คุณพ่อเปแร็ง เจ้าอาวาสและคุณพ่อโกเชต์พ่อปลัดได้รื้อวัดและนำไม้มาสร้างเป็นโรงเรียนใช้ชื่อว่า โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา และใช้ห้องหนึ่งเป็นวัด ปี 1954 คุณพ่อโกเชต์ได้ซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายโรงเรียนและเตรียมสร้างวัด หลังจากนั้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาพร้อมๆ กับการผลัดเปลี่ยนเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน (อ่านรายละเอียดได้ที่ www.catholic.or.th วัดในเขต4 ) ป้ายชื่อวัดหน้าประตูรั้วทางเข้าโบสถ์คือ “วัดนักบุญเปาโล” ไม่มีคำว่า “กลับใจ” แต่สังเกตุให้ดีที่พื้นหน้าประตูโบสถ์จะเห็นป้ายวางศิลาฤกษ์ มีชื่อเต็มๆ คือ “วัดนักบุญเปาโลกลับใจ”
ไหว้พระสุขใจกันแล้วก็ต้องหาสถานที่ท่องเที่ยวให้ครื้นเครงกันด้วย นครนายกมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายทุกรูปแบบ ทั้งแบบธรรมชาติ อาทิ น้ำตกนางรอง น้ำตกสาริกา วังตระไคร้ และน้ำตกอีกมากมาย ายแบบผจญภัยก็มีให้เลือก เช่นปีนหน้าผา ล่องแก่ง เพ้นท์บอล หรืออยากท่องเที่ยวแบบศึกษาวัฒนธรรมโบราณ อาทิ บ้านดงละคร หมู่บ้านไทยพรวน เพราะนครนายกเป็นจังหวัดที่เคยเป็นเมืองรุ่งเรืองสมัยทวาราวดีและสมัยอยุธยา ที่ได้ชื่อว่า “นครนายก” ก็มีหลักฐานเล่ากันว่า ที่ดินแถวนี้เป็นป่ารกชัฏที่ดอนทำนาหรือการเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล จนชาวบ้านอพยพหนีความแห้งแล้ง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทราบความเดือดร้อนจึงยกเลิกภาษีค่านาเพื่อจูงใจให้ชาวบ้านมาอาศัยที่เดิม จึงเรียกเมืองนี้กันติดปากว่า เมืองนา-ยก และยาวนานมาจนเป็น นครนายก
ทริปนี้ฉันประทับใจ “เขื่อนขุนด่านปราการชล” น่ะ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง เขื่อนนี้สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มีน้ำในการทำ
เกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยนักท่องเที่ยวสามารถชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน เห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน และชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน ตัวเขื่อนประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,593 เมตร ความสูง ( สูงสุด ) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขามีความจุ 224 ล้าน ลบม.
“เขื่อนขุนด่านปราการชล” เป็นชื่อพระราชทานเพื่อเชิดชูเกียรติคุณตำนานเจ้าพ่อขุนด่าน “ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน” ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าบุกไทยชาวเขมรลักเสบียง รังแกคนไทย หัวหน้าที่ชาวบ้านเรียกว่าขุนด่านจะใช้ม้าเร็วรับส่งข่าวรายงานไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอทัพมาปกป้องบ้านเมือง ปัจจุบันนี้ “ขุนด่าน”ยังคงอยู่และนำประโยชน์สุขแก่พี่น้องชาวนครนยกและชาวไทยในแง่การดำรงชีพทำการเกษตรกว่า 5,400 ครัวเรือน ให้มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค บรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่นน้ำ
นครนายก อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา แหล่งประมงน้ำจืด และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดนครนายกขยายตัว ราษฎรมีรายได้มากขึ้น (บริเวณด้านล่างก่อนทางขึ้นเขื่อน มีร้านค้า ร้านอาหารน่ารับประทานมากมาย ลองแวะชิมกันได้) ในวันที่ฉันแวะไปชมความงามที่เขื่อนขุนด่านนี้ ฝนตกน่ะ
ตอนแรกฉันก็คิดว่า แย่จัง โชคไม่ดีเลย แต่พอรถไปจอดที่ริมเขื่อน ฉันกลับเห็นความงามอีกมุมมองหนึ่ง นั่นคือความสวยงามของสายฝนที่โปรยปราย และกลุ่มเมฆหมอกที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำและแนวทิวเขา เป็นความงามที่ฉัน
ไม่มีวันลืมเลือนได้เลย (ฉันอดใจไม่ไหว ต้องกางร่มลงจากรถมาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกเชียวล่ะ)
ก่อนกลับกรุงเทพฯ ต้องผ่านคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จึงแวะชมความงามของไม้ดอกไม้ใบนานาพันธุ์ที่ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 คนที่กำลังมองหาต้นไม้เพื่อตกแต่งสวน นักท่องเที่ยวที่หลงใหลในสีสันของพันธุ์ไม้ไม่ควรพลาดที่จะแวะชม อีกทั้งสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากไม้มะม่วง มีแหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลทรายมูลในอำเภอองครักษ์ และเลือกซื้อผลไม้มากมายติดไม้ติดมือกลับบ้านสบายใจ
2554/01/07
บริจาคโลหิต ณ บุญถาวร เกษตร-นวมินทร์
ฤกษ์งามยามดี ทางบุญถาวร สาขาเกษตร-นวมินทร์ ร่วมกับทางสภากาชาดไทย จัดรับบริจาคเลือด ในวันที่ 25 มกราคม 2554 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป
เพื่อจะได้บุญกุศล และเพื่อสุขภาพของตัวเราเองด้วย
ฝากเล็กน้อย กับการเตรียมตัว ที่จะไปบริจาคเลือด
เพื่อมิให้ผู้บริจาคโลหิตอ่อนเพลียมากหลังบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตจึงควรเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต 1 – 2 วัน ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เลือดไหลเวียนดี งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากก่อนบริจาคโลหิต 1 วัน รับประทานอาหารก่อนบริจาคโลหิตประมาณ 4 ชั่วโมงนอนหลับพักผ่อนเพียงพอประมาณ 6 ชั่วโมง
แต่ละครั้งโรงพยาบาลต้องการโลหิตประมาณ 350 – 450 ซีซี / คน ซึ่งปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่ปลอดภัย โลหิตที่ได้จะต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อนนำไปให้ผู้ป่วยคือ ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส และตรวจหาไวรัสเอดส์
แต่ละครั้งโรงพยาบาลต้องการโลหิตประมาณ 350 – 450 ซีซี / คน ซึ่งปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่ปลอดภัย โลหิตที่ได้จะต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อนนำไปให้ผู้ป่วยคือ ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส และตรวจหาไวรัสเอดส์
2554/01/04
บุญเล็กๆ กับโรงเรียนสอนคนตาบอด
พาครอบครัวไปตระเวนเก็บเอกสารที่ขอให้โรงพยาบาล เขียนใบประกันให้กับลูกสาว เนื่องจากเราทำประกันผ่านทางโทรศัพท์ กับเอซอินชัวรันส์ เมื่อ 2 ปีก่อน และเราเองก็ลืมสนิทเลยว่า สามารถเรียกเงินชดเชยในกรณีที่ลูกสาวเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากเจ็บป่วย ดังนั้นจึงเป็นภารกิจในช่วงก่อนปีใหม่ และหลังปีใหม่ ที่จะต้องเดินทางไปรับเอกสารทั้งหมดให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้ส่งไปเคลมประกัน ก็หวังใจว่าถ้าได้เงินชดเชยก้อนดังกล่าวมาก็จะนำไป มอบให้กับ NICU ที่ศิริราชต่อไป เพราะเราทำบุญกับที่นี้มา ปีนี้ก็เป็นปีที่ 5 แล้ว
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจตระเวนไป 2 โรงพยาบาล ก็แวะไปที่ โรงเรียนสอนคนตาบอด เพื่อนำปฏิทินตั้งโต๊ะไปมอบให้เพราะได้ยินจากทางวิทยุ Green Wave ว่ามีการรับบริจาค โดยในวันที่ 30 ธ.ค. ก็รวบรวมปฏิทินตั้งโต๊ะจากที่ทำงานได้ 1 ถุงใหญ่ๆ พวกเราก็หวังว่าความตั้งใจเล็กๆ ของพวกเราจะทำให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานดังกล่าวได้นะครับ
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจตระเวนไป 2 โรงพยาบาล ก็แวะไปที่ โรงเรียนสอนคนตาบอด เพื่อนำปฏิทินตั้งโต๊ะไปมอบให้เพราะได้ยินจากทางวิทยุ Green Wave ว่ามีการรับบริจาค โดยในวันที่ 30 ธ.ค. ก็รวบรวมปฏิทินตั้งโต๊ะจากที่ทำงานได้ 1 ถุงใหญ่ๆ พวกเราก็หวังว่าความตั้งใจเล็กๆ ของพวกเราจะทำให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานดังกล่าวได้นะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)