2560/07/22

แม่ทัพ และ หมากล้อม

แต่ก่อน มีแม่ทัพคนหนึ่งเล่น หมากล้อม เก่งมาก ฝีมือแม่ทัพดีหาคนเล่นชนะได้ยาก และก็ภูมิใจในฝีมือตนมาก

วันหนึ่ง แม่ทัพออกรบ ผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เห็นบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่ง มีป้ายติดว่า “หมากล้อม อันดับ 1 ของ

ประเทศ”

แม่ทัพเห็นแล้วรู้สึกไม่ยอมรับในใจ จึงพักทัพ แวะเข้าไปหาเจ้าของบ้าน ขอประลองหมากล้อมด้วย

ปรากฎว่า เจ้าของบ้านแพ้ทั้ง 3 กระดาน

แม่ทัพยิ้ม เอามือลูบเครา พลางหัวเราะใส่เจ้าของบ้าน “เหอะๆ..แกเอาป้ายลงได้แล้ว”
แล้วแม่ทัพก็ไปออกรบด้วยความกระหยิ่มในฝีมือการวาง หมากล้อม และวิสัยทัศน์ในกลยุทธของตน

หลังจากนั้นไม่นาน แม่ทัพรบชนะกลับมา ผ่านมาที่เดิม
ก็ยังเห็นป้าย อันดับ 1 แขวนอยู่ที่บ้านหลังเดิม ก็อดไม่ได้ แม่ทัพจึงเข้าไปหาเจ้าของบ้าน และท้าดวลอีก

คราวนี้แม่ทัพบอกสำทับเจ้าของบ้านว่า เล่นให้ดี ถ้าชนะจะให้รางวัล แต่ถ้าแพ้ จะปลดป้ายอวดดีที่ติดไว้หน้าบ้านทิ้ง

แต่ปรากฎว่าครั้งนี้ แม่ทัพกลับพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงทั้ง 3 กระดาน ไม่เหลือเค้าลางความเก่งเดิมที่เคยทะนงในฝีมือ

แม่ทัพประหลาดใจมาก ถามเจ้าของบ้านว่าเพราะอะไร ?
ไปฝึกที่ไหนเพื่อมาแก้มือหรือเปล่า ?

รู้สึกไม่อาจยอมรับได้ว่าเจ้าของบ้านเก่งกว่า เลยอ้างว่าเพิ่งเดินทัพกลับมายังเหนื่อยล้า พรุ่งนี้จะมาเล่นด้วยใหม่

เป็นอย่างนี้ สามวัน ทุกวันแม่ทัพแพ้หมากล้อมอย่างหมดรูป 3 กระดาน ทั้งสามวัน จนไม่อาจไม่ยอมรับว่าฝีมือ

ตนด้อยกว่า และไม่มีเหตุผลใดกล่าวอ้างอีก จึงยอมรับนับถือฝีมือเจ้าบ้านอย่างจริงใจ ยอมตบรางวัลให้ตามสัญญา

แต่ก็ยังอดถามไม่ได้ว่า แล้วทำไม

เจ้าบ้านขอร้องให้แม่ทัพรับปากว่าถ้าตอบตามจริงแล้วจะไม่มีโทษ แม่ทัพให้สัตย์

เจ้าของบ้านจึงตอบตามตรงว่า

เพราะท่านเป็นแม่ทัพ และข้าเป็นผู้น้อย
วันแรกที่เจอกัน ท่านเดินทัพไปรบ แต่กลับอดไม่ได้ต้องแวะมาลองฝีมือกับข้าพเจ้า ย่อมแสดงว่าท่านรู้สึกไม่ยอม

รับนับถือผู้ใดในสิ่งที่ท่านคิดว่าท่านเก่งกว่า

อีกทั้งเมื่อเดินหมากท่วงทีกลยุทธเดินหมากท่านดุดันวางรุกรุนแรงหมายกินพื้นที่ไม่เหลือ มุ่งหมายชนะฝ่ายเดียว

ข้าพเจ้าจึงรู้ว่าแพ้ชนะมีผลต่อความมั่นใจของท่านในการออกรบ ครั้งก่อนนั้น ท่านกำลังมีภารกิจต้องไปออกรบ

ข้าน้อยจะไปลบเหลี่ยม ทำให้ท่านหมดขวัญกำลังใจไม่ได้

แต่ครั้งนี้ ท่านชนะกลับมา และบังคับให้ข้าน้อยเล่นอีก ถ้าแพ้จะปลดป้ายของข้าน้อยออก จึงมิอาจออมมือให้แล้ว

ขอรับ”

แม่ทัพพยักหน้ายอมรับในเหตุผล ที่เจ้าของบ้านอ่านได้กระจ่าง แต่ก็อดไม่ได้ที่จะแสดงสีหน้าไม่พึงใจออกมา แต่

ก็ไม่ว่ากระไร มอบรางวัลแล้วกลับไปยังทัพของตน

พอถึงที่พักก็คิดว่า คนที่อ่านกลหมากได้จนรู้ความคิดอ่านของตนย่อมจะเป็นภัย ใครรู้ว่าแม่ทัพแพ้หมดรูปขนาด

นั้นถึงไหนอายถึงนั่น จึงสั่งลูกน้องคนสนิทให้ไปฆ่าเจ้าของบ้านเสีย

โดยให้เหตุผลว่าถ้าข้าศึกรู้ว่ามีคนนี้อยู่อาจเอาไปใช้เป็นประโยชน์ในการศึกคราวต่อไป แต่เมื่อไปถึง เจ้าของ

บ้านก็เก็บของและป้ายนั้นพร้อมออกเดินทางหายไปอย่างไร้ร่องรอยเสียแล้ว

คนที่เก่งจริงในโลกนี้ คือคนชนะได้ แต่ไม่จำเป็นต้องชนะ
มีใจกว้างขวางพอที่จะให้คนอื่นได้ชนะ ได้ภูมิใจในฝีมือของตน
ได้ไปรบในสนามรบของตนอย่างมั่นใจ

การใช้ชีวิต ก็เหมือนกัน.....
รู้ ไม่จำเป็นต้องพูด ไม่พูด ใช่ว่าจะไม่รู้

หากคุณพูดในสิ่งที่คุณรู้ แต่เป็นเรื่องที่เจ้าของเรื่องไม่อยากให้รู้ หรือไม่คิดว่าคนอื่นจะรู้ คุณไม่ได้มิตร แต่ได้ศัตรู

คนทุกคนบอกว่ารับความจริงได้ ต้องการให้คุณพูดความจริง แต่พอคุณพูดแล้ว ใช่ว่าจะรับได้ทุกคน อาจจะโกรธ

คุณอีกต่างหาก ที่รู้ความจริงในใจ หรือความคิดของเขา

การที่เขาบอกให้คุณพูดความจริง ที่จริงแค่ต้องการจะรู้ว่าคุณรู้เท่าไหน แต่ไม่ได้หมายความว่ารับความจริงได้

เมื่อรู้ว่าคุณรู้เยอะมาก เยอะกว่าที่เขาคาดไว้ เขาย่อมโกรธคุณ เพราะ “รู้ทัน” หรือไม่ทำใจยอมรับได้ว่า ในเรื่อง

นั้นคุณเก่งกว่า รู้เยอะกว่าเขา

ต่อหน้าคนใจแคบ คุณต้องใจกว้าง ถ้าทำใจกว้างไม่ได้ ก็ต้องแกล้งโง่ เพราะไม่มีทางทำให้เขาพึงใจในความเก่ง

ของคุณได้ ต่อให้เขายอมรับก็ยอมรับด้วยความรู้สึกไม่ยินยอม และมุ่งจะเอาชนะท่านให้ได้ มีแต่เสียกับเสีย

ต่อหน้าคนใจกว้าง คูณแสดงความสามารถได้ตามจริง เต็มเท่าที่คุณมี แต่ก็ยากนักที่จะเจอคนใจกว้างได้ง่ายๆ ใน

สังคมปัจจุบัน

คนเก่งหมากล้อมอ่านพินิจวิธีการเดินหมากล้อมก็เห็นความคิดอ่าน
คนเก่งใช้ชีวิต ก็ต้องอ่านพินิจวิธีคิดอ่านของคนที่ตนพบด้วย เพราะมีผลต่อการปฏิสัมพันธ์กันในอนาคต
gnitethailand.com

2560/07/03

ความรู้ หุ้นพิศดาร ที่ควรรู้ไว้ แต่ให้อยู่ห่างๆ

แกะรอย บจ. ถูกสั่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ รายย่อยกว่า 3 หมื่นรายติดหุ้น! 
ข้อมูลจาก : สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -3 ก.ค. 60

  หลังจากหุ้นร้อนอย่าง บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ EARTH) และ บมจ.โพลาริส แคปปิตัล POLAR) ถูกตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามการซื้อขาย และสำนักงานคณะกรรมกรกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต.) สั่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ (Special Audit) พานักลงทุนรายย่อยรวมกว่า 2 หมื่นราย ติดกับดัก และเกิดคำถามว่า "เมื่อไหร่" หุ้นจะกลับมาเทรดได้อีกครั้ง

  "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูล บจ. ที่ถูก ก.ล.ต. สั่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีทั้งหมด 9 บริษัท แบ่งเป็นที่เคลียร์ตัวเองสำเร็จและปลด SP ให้ซื้อขายได้แล้ว 5 บริษัท ถูกเพิกถอนจากการเป็น บจ. 1 บริษัท และยังถูก SP จนถึงปัจจุบันอีก 3 บริษัท รวมรายย่อยที่ติดหุ้นอยู่กว่า 1.3 หมื่นราย ซึ่งหากรวม EARTH และ POLAR เท่ากับว่ามีนักลงทุนรายย่อยกว่า 3.3 หมื่นราย หรือประมาณ 10% ของบัญชีหุ้นทั้งหมดที่ Active ที่ต้องติดหุ้นแบบไม่รู้ชะตากรรม

** 10 ปีโดนไป 11 บจ.
  จากการตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต.) พบว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียน บจ.) จำนวน 11 บริษัทถูกสั่งให้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีกรณีพิเศษ (Special Audit) ประกอบด้วย
  1.บมจ.เอบิโก้ โฮลดิ้งส์ ABICO) ตรวจสอบความคลุมเครือและไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ABICO กับบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งและบริษัท พีพีโอ ฟาร์ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วม
  โดย ABICO ได้เปิดเผยว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทดังกล่าวและไม่ได้มีอำนาจควบคุมในบริษัทดังกล่าว แต่ปรากฏว่า ABICO และบริษัทย่อย มีรายการธุรกิจกับบริษัททั้งสองแห่งอย่างเป็นสาระสำคัญ ตลอดจนกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งสองมีสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ABICO
  2.บมจ.เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส SECC) ตรวจสอบเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของทรัพย์สิน หนี้สิน ใบหุ้นของ SECC รวมถึงการขายและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์และอาจมีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของ SECC หลังพบว่าบริษัท เอสอีซีซี โฮลดิ้ง จำกัด SECC Holding) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น 4 ราย จำนวนรวม 245 ล้านบาท แต่ SECC Holding มิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน แต่ให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลในจำนวนเงินสูง ทำให้ SECC Holding มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับชำระหนี้คืน และจะกระทบต่อ SECC ให้ได้รับความเสียหายได้
  3.บมจ.จี สตีล GSTEEL) และบมจ.จี เจ สตีล GJS) ตรวจสอบรายการขายเชื่อสินค้าและรายการซื้อเครื่องจักรของ GSTEEL และ GJS ซึ่งเป็นบริษัทย่อย หลังผู้สอบบัญชีของ GSTEEL และ GJS รายงานผลการสอบทานงบการเงินไตรมาส 3/52 ว่า 1.ถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานโดยผู้บริหารของ GSTEEL และ GJS ในประเด็นการอนุมัติสินเชื่อและการจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อหักกลบกับลูกหนี้ที่ผิดนัด 2.ถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานโดยสถานการณ์ในประเด็นการตั้งค่าเผื่อการลดมูลค่าของวัตถุดิบที่เสื่อมสภาพของ GSTEEL และ 3. ความไม่แน่นอนของมูลค่างานระหว่างก่อสร้างซึ่งไม่มีความคืบหน้า และเงินจ่ายล่วงหน้าค่าเครื่องจักรซึ่งเกินกำหนดชำระเงินและส่งมอบเครื่องจักรตามสัญญาของ GSTEEL จึงทำให้มีความคลุมเครือและไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความถูกต้องตามควรของการบันทึกบัญชี
  4.บมจ.นิปปอนแพ็ค ประเทศไทย) NIPPON) ให้ตรวจสอบงบการเงิน หลังกล่าวโทษนายวิชัย ชัยสถาพร ประธานกรรมการ เกี่ยวกับยักยอกทรัพย์สินของบริษัทรวมเป็นเงินประมาณ 179.6 ล้านบาท และยังได้ปลอมแปลงเอกสารและลงบัญชีเป็นเท็จ เพื่อให้แน่ใจว่างบการเงินของบริษัทแสดงฐานะการเงินที่แท้จริงและไม่มีรายการอื่นที่เป็นการทุจริตที่จะกระทบต่อสิทธิของผู้ลงทุน
  5.บมจ.บลิส-เทล BLISS) ตรวจสอบการว่าจ้างโฆษณามูลค่า 29.9 ล้านบาท โดยชำระค่าโฆษณาด้วยเช็คเงินสดผ่านการเบิกเงินทดรองจ่าย หลังผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่อรายงานการสอบทานงบการเงินไตรมาส 3/53 ไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในมูลค่าของค่าโฆษณาว่าเป็นไปตามราคาตลาดหรือไม่ และไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในจำนวนครั้งของการลงโฆษณาทั้งทางออนไลน์และทางรายการโทรทัศน์ตามที่ระบุในสัญญา จึงทำให้มีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการว่าจ้างโฆษณาและความสมเหตุสมผลของการทำรายการ ขอขยายเวลา
  6.บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ THL) ตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินงานภายในของ THL หลายประเด็น ได้แก่ 1.การนำทรัพย์สินไปวางเป็นหลักประกันเพื่อขอทุเลาการบังคับคดีให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง 2.การกู้ยืมเงินจากบริษัทที่เกี่ยวข้องและจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง 3.การทำรายการอื่นกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง 4.ระบบการควบคุมดูแลทรัพย์สินของบริษัท และ 5.ระบบการบริหารจัดการภายใน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของการบริหารจัดการและระบบควบคุมภายในที่ดีและอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการทำรายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง
  7.บมจ.มิลล์คอน สตีล MILL) ตรวจสอบรายการซื้อขายกับพันธมิตรทางการค้าและประเด็นการลดสัดส่วนการลงทุนในบริษัท มิลล์เลี่ยน ไมล์ส
  8.บมจ.เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ KC) ตรวจสอบการออกตั๋วแลกเงิน การรับและจ่ายเงินที่เกี่ยวข้อง และระบบการบันทึกบัญชี และตรวจสอบตามประเด็นที่ผู้สอบบัญชีของ KC มีข้อสงสัยเกี่ยวกับธุรกรรมซื้อขายที่ดินว่าเป็นไปตามปกติของธุรกิจหรือไม่
  9.บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ EARTH) ตรวจสอบการทำรายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า ซึ่งรายการดังกล่าวมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากปี 58 อย่างมีนัยสำคัญ ถึง 58% และมียอดคงเหลือ ณ สิ้นงวดไตรมาส 1/60 คิดเป็น 45% ของสินทรัพย์รวม
  10.บมจ.โพลาริส แคปปิตัล POLAR) ตรวจสอบที่มา ความมีอยู่จริง ความครบถ้วนในการบันทึกบัญชี และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของหนี้สินตามที่แจ้งไว้ในคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
  โดยบริษัทส่งงบการเงินงวดสิ้นปี 59 ต่อ ก.ล.ต.ว่ามีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก 4,580 ล้านบาท แต่แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลท.) ว่ามีหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนแล้ว รวมทั้งสิ้น 5,718 ล้านบาท ซึ่งอาจมากกว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยข้อมูลหนี้สินที่บริษัทเปิดเผยในงบการเงินแตกต่างจากมูลหนี้ในคำร้องขอฟื้นฟูกิจการอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหากข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนได้

***นักบัญชีชี้เป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องติดตามใกล้ชิด
  ดร.ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ กรรมการสภาวิชาชีพบัญชีฯ เผยว่า การสั่งให้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ทุกครั้งจะเป็นประเด็นที่สำคัญมากและมีนัยซึ่งอาจจะกระทบต่อธุรกิจของบริษัทและผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
  "จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีบริษัทที่ถูกสั่งตั้ง Spacial Audit เพียง 11 รายเท่านั้น แต่ทุกรายเป็นกรณีที่สำคัญ ผู้ถือหุ้นไม่สามารถละเลยได้ จะเห็นได้ว่าจากกรณีที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับงบการเงินที่อาจจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของบริษัทหรือบางรายก็ถูกห้ามซื้อขายเป็นเวลานานและยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการกลับมาเทรดได้"

***แจงไม่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีหลัก
  ดร.ธีรชัย กล่าวต่อไปว่า กรณีการตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ ต้องแยกเป็นคนละประเด็นกับผู้สอบบัญชีหลักของบริษัท ไม่เกี่ยวข้องกัน
  "ถามว่าเป็นการตบหน้าผู้สอบบัญชีหลักของบริษัทไหม ต้องตอบเลยว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะไม่มีผู้สอบบัญชีรายไหนตรวจสอบรายละเอียดของบริษัทได้ 100%
  ส่วนใหญ่การตั้ง Special Audit มักเกิดจากการตรวจพบความผิดปกติหรือความไม่ชัดเจนจาก ก.ล.ต. หรือบางครั้งอาจจะมีผู้ถือหุ้นร้องเรียนเข้ามามาก ๆ ทำให้ต้องสั่งให้มีการตรวจเฉพาะประเด็นโดยละเอียด
  ต่างกับการตรวจสอบงบการเงินทั่วไป คืองบการเงินนั้นจะตรวจสอบตามมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีและทางผู้สอบจะแสดงความเห็นกับงบการเงินว่าได้จัดทำถูกต้องในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่ได้รับการรับรองทั่วไปหรือไม่ ซึ่งทางบริษัทต้องมีการจัดให้มีการตรวจสอบทุกปี และมีการสอบทานตัวเลขทางการเงินทุกไตรมาส"
  เช่นเดียวกับ "ปริย เตชะมวลไววิทย์" ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการและสื่อสารองค์กร ก.ล.ต. ที่ระบุว่า การสั่งให้มีการทำ special audit มีเพื่อให้มีการตรวจสอบให้เกิดความชัดเจนในประเด็นที่สงสัย ซึ่งวิธีการทำงานก็จะต่างกับการตรวจรับรองงบการเงินทั่วไป เพราะฉะนั้นการสั่ง special audit ไม่ได้หมายความว่า ผู้สอบบัญชีรายเดิมบกพร่องในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด โดยทั่วไปจะทำโดยผู้สอบบัญชีที่ไม่ใช่ผู้สอบฯ ที่เซ็นงบ

***ส่งรายงาน Special Audit ไม่ทันกำหนดมีโทษ
  ขณะที่หากบริษัทใด ๆ ไม่สามารถส่งรายงานการสอบบัญชีพิเศษได้ทันกำหนด ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ จะถูกลงโทษตามมาตรา 274 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูลและการชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 56 มาตรา 57 หรือ มาตรา 58 1) หรือ 3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทใดไม่มาชี้แจงตามมาตรา 58 2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  ทั้งนี้ที่ผ่านมามีเพียงบริษัทเดียวที่ไม่ส่งรายงานการสอบบัญชีพิเศษ คือ บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ THL) ซึ่ง ก.ล.ต.ก็ได้กำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายกับ THL และผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของ THL
  อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ถูกสั่งให้สอบบัญชีพิเศษ สามารถขอขยายเวลาการรายงานผลได้ตามเหตุผลที่สมควร ซึ่งที่ผ่านมาเกือบทุกรายได้ขอขยายเวลาทั้งสิ้น และก็ได้รับการอนุมัติ มีเพียง THL ที่ถูกปฏิเสธ เนื่องจากไม่ได้ดำเนินการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบเป็นกรณี
  "ปริย เตชะมวลไววิทย์" เสริมว่า สำหรับผลลัพธ์จากการทำ special audit อาจออกมาได้เป็น 2 แนวทาง ทางแรก คือ ไม่พบการทำความผิด ทางที่สอง คือ บริษัทจดทะเบียนมีการทำความผิดจริง ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ มักตามมาด้วยการที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้บริหาร หรือสั่งให้บริษัทจดทะเบียนแก้ไขงบการเงินในที่สุด ดังนั้น การสั่งทำ special audit นอกจากเป็นไปเพื่อทำให้ความจริงชัดเจนแล้ว ยังอาจถือเป็นสัญญาณที่ส่งออกมาจากหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อบอกผู้ลงทุนให้จับตามองว่าบริษัทจดทะเบียน มีประเด็นที่น่าสงสัยในเรื่องใดเป็นพิเศษหรือไม่พิเศษ

***จับสัญญาณ บจ.เข้าข่ายถูกสั่งสอบบัญชีพิเศษ
  นักวิชาการด้านบัญชี เผยให้ฟังว่า สัญญาณอันตรายของบริษัทที่จะถูกสั่งให้ทำ Special audit มีดังนี้
  1.ผู้สอบบัญชีหลักรายงานงบการเงินถูกต้องแต่มีเงื่อนไขบางเรื่อง
  2.งบการเงินถูกต้องแต่มีข้อสังเกตบางเรื่องที่ผู้สอบบัญชีอยากเน้นให้ระวัง เช่น รายได้หลักหรือส่วนใหญ่ของบริษัทมาจากคู่ค้าเพียงรายเดียวเท่านั้น
  3.ผู้สอบบัญชีไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือติดข้อจากัดบางประการ
  4.ผู้สอบบัญชีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
  "ส่วนใหญ่ความเห็นของผู้สอบบัญชีนี่แหละที่จะเป็นหนึ่งในตัวจุดประกายให้ ก.ล.ต. เริ่มสะกิดใจและตามดูต่อไป ว่ามีอะไรที่น่าสงสัยเกี่ยวกับงบการเงินนั้นหรือไม่ ซึ่งนอกจากความเห็นของผู้สอบบัญชีแล้ว สัญญาณอีก 2 แบบที่ช่วยให้ ก.ล.ต. สังเกตความผิดปกติของบริษัทก็มาจาก การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับบริษัท และ ข้อมูลต่าง ๆ ในงบการเงิน"

***ตรวจสถานะ บจ.ถูก Special audit
  สำหรับสถานภาพของกลุ่มบริษัทที่ถูกสั่งให้สอบบัญชีพิเศษ จำนวน 11 บริษัท ปัจจุบัน มี 1 ที่ถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์คือ SECC
  ขณะที่มี 3 รายยังคงถูกห้ามซื้อขาย ได้แก่ THL ที่ถูก SP ตั้งแต่ปี 54 , BLISS ที่ถูก SP ตั้งแต่ปี 55 และ , KC ที่ถูกขึ้น SP ตั้งแต่ปี 58