(บันทึกไว้ หลังจากเป็นมาได้ 2 สัปดาห์)
เพราะ “กรดไหลย้อน” มีปัจจัยหลักๆ มาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง เมื่อตรวจพบโรคกรดไหลย้อน นอกจากการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ การเลือกกินอาหารที่เหมาะสม...คืออีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้อาการกรดไหลย้อนน้อยลงได้
1. อาหารไขมันต่ำ อย่างเช่น เนื้อปลา, ไก่, ไข่ขาว, นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้
2. อาหารไฟเบอร์สูง ควรเน้นอาการที่มีไฟเบอร์หรือกากใยสูง อย่างเช่น ธัญพืช, ข้าวโอ๊ต, ขนมปังโฮลวีท, ผัก ผลไม้ เป็นต้น โดยผลไม้สำหรับคนเป็นกรดไหลย้อนนั้น ควรเป็นผลไม้ที่ไม่มีกรดมาก อย่างเช่น กล้วย, แตงโม, แคนตาลูป, แอปเปิ้ล, พีช, ลูกแพร์, อะโวคาโด หรือผลไม้รสหวานชนิดอื่น ๆ
3. ดื่มน้ำขิงเป็นประจำ เพราะขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน สามารถช่วยขับลม ช่วยย่อย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยลดอาการท้องอืด หรืออาการกรด-แก๊สในกระเพาะเกินได้
4. อาหารที่มีไขมันดี ร่างกายคนเราต้องการไขมันเป็นพลังงาน ดังนั้นคนเป็นโรคกรดไหลย้อนก็ไม่ควรงดไขมันด้วยเช่นกัน เพียงแต่ไขมันที่คนเป็นกรดไหลย้อนกินได้ ควรเป็นไขมันชนิดดีจากอะโวคาโด แฟลกซ์ซีด น้ำมันมะกอก น้ำมันงา หรือน้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
นอกจากอาหารการกิน คนเป็นโรคกรดไหลย้อนควรงดสูบบุหรี่และกินมื้อเย็นแค่พออิ่ม หรือเปลี่ยนมื้อเย็นเป็นผัก-ผลไม้แทน ที่สำคัญคือไม่ควรกินแล้วนอน หรือเอนกายลงพักผ่อนทันที ควรกินอาหารก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมง และควรนอนตะแคงซ้ายพร้อมกับหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว พร้อมทั้งควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูง เสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อนได้มากกว่า
ศูนย์โรคกรดไหลย้อน โรงพยาบาลพญาไท 2
ชั้น 4 อาคาร A
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น