เป็นพนักงานในที่ทำงาน... ขณะที่เธอกำลังนั่งเคลียร์เอกสารอยู่ในบริษัท ก็มีโทรศัพท์จากที่บ้าน และพูดคุยด้วยอาการตื่นตระหนกแล้วรีบแจ้งกับผมทันทีว่า "พี่หนู. ขอกลับไปก่อนนะค่ะ..ลูกนอนแล้วไม่หายใจ จะรีบไปโรงพยาบาล" และน้องคนนั้นก็โทร.แจ้งหัวหน้างานตรงเพื่อให้ช่วยดูแลงานต่อไปให้ด้วย
...................
เด็ก 4 เดือน ในวันที่อยู่กับคุณพ่อ ที่คอยให้นมลูกน้อย.. และหลังจากให้นมก็ไม่ได้ทำให้เด็ก เหรอ (อ๊อกนม)
ออกมาก่อน ปล่อยให้เด็กนอนคว่ำหน้า และให้เขาเล่นไปมาตามปกติ พร้อมกับหลับไป
หลังจากนั้นซักพัก คุณพ่อเริ่มเห็นอาการว่าทำไมหน้าอก หรือตัวไม่กระเืพื่อม จึงเข้าไปดูและพบว่าลูกน้อยหยุดหายใจ และตัวเริ่มเขียว...
รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน..... และติดต่อผู้ใหญ่ และภรรยาของตัวเอง.. เพื่อไปที่โรงพยาบาล
เมื่อถึงโรงพยาบาล ก็รีบนำเข้าห้อง ไอซียู ในเย็นวันนั้น... แต่ก็ช้าเกินไป..เด็กน้อยยังไม่รู้สึกตัว และคุณแม่ก็อยู่เคียงข้างลูกน้อย พร้อมกับพูดว่า
ถ้าลูกสู้ แม่ก็จะสู้ แต่ถ้าลูกไม่ไหว ก็ขอให้ลูกพักผ่อนเถอะนะ
คุณหมอแจ้งว่า.. สาเหตุเกิดจากการที่น้ำนมสำลัก เข้าไปอยู่ในปอดนานเกินไป ทำให้ระบบการหายใจติดขัด.. เมื่อเข้าไปในห้อง ไอซียู ก็ทำการดูดน้ำนมออกมาจากปอด และต่อท่ออ๊อกซิเจนเข้าไปช่วยทำระบบหายใจดีขึ้น พร้อมกับแจ้งว่า ทีมหมอจะช่วยให้ถึงที่สุด แต่ไม่รับปากนะครับ ว่าน้องจะรอดหรือไม่ แต่ถ้ารอดก็อาจจะเป็นเจ้าหญิงนิทรา....
หลังจากนั้นไม่นาน.. คุณหมอ ก็เรียกให้คุณแม่เข้าไปดูลูกน้อยอีกครั้ง...
หัวใจของลูกน้อย..ก็ค่อยๆ ช้าลง ช้าลง.. และจากไปอย่างสงบ เป็นนางฟ้าตัวน้อยๆ บนสวรรค์.. แต่ทำให้คุณพ่อและคุณแม่แทบจะขาดใจ..
ลูกน้อยที่กำลังน่ารัก, ที่กำลังจะส่งเสียงเจื้อยแจ้ว... ต้องจากไปด้วยอุับัติเหตุ ที่ไม่มีใครอยากให้เป็น
ทั้งหมดนี้ขออนุโมทนาบุญกุศลทั้งหลาย ให้กับครอบครัวนี้ และขอให้เป็นอุทาหรณ์แ่ก่ทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้
++++++++++++++++++++++++
ความรู้จากโรงพยาบาล
ลูกสำลักนม น้ำ ข้าว หรือสิ่งแปลกปลอม
วิธีรับมือ : เช็กเรื่องการไหลของน้ำนม ถ้าไหลเร็วและมากเกินไป เวลาลูกดูดให้ใช้นิ้วคีบที่หัวนมเอาไว้ และระวังไม่ให้เต้านมไปปิดปากหรือจมูกของลูกด้วยค่ะ ส่วนการป้อนน้ำจากขวดก็ควรตรวจเรื่องความร้อนและการไหลของน้ำ อย่าปล่อยให้น้ำไหลเร็ว เพราะเด็กอาจกลืนไม่ทันแล้วเกิดอาการสำลักน้ำได้
ข้าวและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป โดยมากจะพบในกรณีของว่าง เช่น ถั่ว หรือขนมที่เป็นเม็ด ที่เด็กยังเคี้ยวไม่ได้ ทำให้ติดคอหรือเกิดอาการสำลักได้ ควรให้ลูกนอนตะแคงใช้ผ้าอ้อมพันนิ้วหรือลูกสูบยางดูดออกมา ถ้าสำลักขั้นร้ายแรง น้ำหรือนมเข้าปอดแล้วเกิดอาการปอดบวม อาการคือตัวเขียว เหมือนจะหยุดหายใจ ควรรีบเอาลูกสูบยางดูดแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลค่ะ
วิธีรับมือ : เช็กเรื่องการไหลของน้ำนม ถ้าไหลเร็วและมากเกินไป เวลาลูกดูดให้ใช้นิ้วคีบที่หัวนมเอาไว้ และระวังไม่ให้เต้านมไปปิดปากหรือจมูกของลูกด้วยค่ะ ส่วนการป้อนน้ำจากขวดก็ควรตรวจเรื่องความร้อนและการไหลของน้ำ อย่าปล่อยให้น้ำไหลเร็ว เพราะเด็กอาจกลืนไม่ทันแล้วเกิดอาการสำลักน้ำได้
ข้าวและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป โดยมากจะพบในกรณีของว่าง เช่น ถั่ว หรือขนมที่เป็นเม็ด ที่เด็กยังเคี้ยวไม่ได้ ทำให้ติดคอหรือเกิดอาการสำลักได้ ควรให้ลูกนอนตะแคงใช้ผ้าอ้อมพันนิ้วหรือลูกสูบยางดูดออกมา ถ้าสำลักขั้นร้ายแรง น้ำหรือนมเข้าปอดแล้วเกิดอาการปอดบวม อาการคือตัวเขียว เหมือนจะหยุดหายใจ ควรรีบเอาลูกสูบยางดูดแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น