เดิมครอบครัวของข้าพเจ้าเปิดร้านค้าขายของชำ หรือที่เรียกกันว่า “โชว์ห่วย” นับว่าเป็นร้านค้าเล็กๆ 2 คูหา บนถนนดินแดง คุณพ่อใช้ชื่อร้านว่า “แสงชัยพานิช” ซึ่งเป็นการอ่านออกเสียงจากคำว่า “เส็งไช” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว ร้านแห่งนี้เปิดเมื่อ ปี พ.ศ.2518 ข้าพเจ้ามีอายุได้เพียง 1 ขวบกว่าๆ ภาพที่ข้าพเจ้าเห็นบ่อยๆ คือ ป๊าป๊า และ ม๊าม๊า ขายของตั้งแต่ข้าวสาร ของใช้ในครัว และ ของใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนขนมปัง เบเกอรี่ ท่านทั้ง 2 ทำธุรกิจนี้ และเลี้ยงดูข้าพเจ้ากับพี่ๆ อีก 6 คน จนจบการศึกษาและแยกย้ายกันไปมีครอบครัว เมื่อข้าพเจ้าโตพอที่จะช่วยชายของได้ ข้าพเจ้าก็เริ่มช่วยขายของ โดยการหยิบของเล็กๆ น้อยๆ ส่งของ เรียงของเข้าตู้ หรือเข้าชั้นขายสินค้า ตามช่วงวันหยุด และเวลาที่ปิดเทอม
ช่วงปิดเทอมในวัยเด็กของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจำได้ว่าอยากได้ของเล่นสักชิ้นหนึ่ง แต่ป๊าๆ ได้บอกว่าให้ข้าพเจ้า ช่วยขายสินค้า แล้วนำเงินที่ได้จากการกำไรสินค้านั้นๆ รวบรวมแล้วไปซื้อของเล่นที่อยากได้ ขณะนั้นข้าพเจ้าก็มีความสงสัยว่า ? ทำไมป๊าๆ ถึงไม่ให้นำเงินทั้งหมดที่ขายได้ไปซื้อละ ทำไมให้แค่กำไรที่จะนำไปซื้อของเล่น?? แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ถามอะไรมากนัก ก็ลงมือเริ่มขายของที่ร้านทุกวัน ตั้งแต่ 10 โมง จนถึง 6 โมงเย็น
ข้าพเจ้ามีสมุดเล็กๆ ไว้สำหรับจดยอดกำไรที่ข้าพเจ้าได้รับในแต่ละครั้งที่ข้าพเจ้าขายสินค้าได้ เวลาที่ขายสินค้าได้ ก็จะไปถามพี่สาวคนโต หรือป๊าๆ ว่าได้กำไรเท่าไร แล้วก็จดลงไปในสมุด มีอยู่ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าก็ตะโกนถามออกมาว่า
“ป๊า ขนมปังนี้กำไรเท่าไรครับ ผมจะจดลงสมุด”
ขณะนั้นลูกค้ายังอยู่ในร้านแล้วก็ทำหน้างงๆ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้สนใจว่าเขาทำหน้าอย่างนั้นทำไม
ป๊าๆ ก็เดินมาบอกกับลูกค้าว่า “ลูกจะซื้อของเล่น อั๊วก็เลยให้มาช่วยขายของ เก็บเงินไว้ไปซื้อของเล่นชิ้นนั้น”
ลูกค้าก็ยิ้มๆ แล้วบอกว่า “ดีจัง ขยันเขานะหนู” แล้วก็เดินออกไปจากร้าน
หลังจากนั้นสักพักป๊าๆ ก็เข้ามาบอกว่าครั้งต่อไป รอให้ลูกค้าออกไปก่อนแล้วค่อยถามและให้ใช้เสียงเบาๆ ด้วย เดี๋ยวลูกค้าเขาจะตกใจ ห้ามตะโกนถามแบบนี้อีกนะ
ช่วงปิดเทอมในวัยเด็กของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจำได้ว่าอยากได้ของเล่นสักชิ้นหนึ่ง แต่ป๊าๆ ได้บอกว่าให้ข้าพเจ้า ช่วยขายสินค้า แล้วนำเงินที่ได้จากการกำไรสินค้านั้นๆ รวบรวมแล้วไปซื้อของเล่นที่อยากได้ ขณะนั้นข้าพเจ้าก็มีความสงสัยว่า ? ทำไมป๊าๆ ถึงไม่ให้นำเงินทั้งหมดที่ขายได้ไปซื้อละ ทำไมให้แค่กำไรที่จะนำไปซื้อของเล่น?? แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ถามอะไรมากนัก ก็ลงมือเริ่มขายของที่ร้านทุกวัน ตั้งแต่ 10 โมง จนถึง 6 โมงเย็น
ข้าพเจ้ามีสมุดเล็กๆ ไว้สำหรับจดยอดกำไรที่ข้าพเจ้าได้รับในแต่ละครั้งที่ข้าพเจ้าขายสินค้าได้ เวลาที่ขายสินค้าได้ ก็จะไปถามพี่สาวคนโต หรือป๊าๆ ว่าได้กำไรเท่าไร แล้วก็จดลงไปในสมุด มีอยู่ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าก็ตะโกนถามออกมาว่า
“ป๊า ขนมปังนี้กำไรเท่าไรครับ ผมจะจดลงสมุด”
ขณะนั้นลูกค้ายังอยู่ในร้านแล้วก็ทำหน้างงๆ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้สนใจว่าเขาทำหน้าอย่างนั้นทำไม
ป๊าๆ ก็เดินมาบอกกับลูกค้าว่า “ลูกจะซื้อของเล่น อั๊วก็เลยให้มาช่วยขายของ เก็บเงินไว้ไปซื้อของเล่นชิ้นนั้น”
ลูกค้าก็ยิ้มๆ แล้วบอกว่า “ดีจัง ขยันเขานะหนู” แล้วก็เดินออกไปจากร้าน
หลังจากนั้นสักพักป๊าๆ ก็เข้ามาบอกว่าครั้งต่อไป รอให้ลูกค้าออกไปก่อนแล้วค่อยถามและให้ใช้เสียงเบาๆ ด้วย เดี๋ยวลูกค้าเขาจะตกใจ ห้ามตะโกนถามแบบนี้อีกนะ
สินค้าในร้านที่ขายกันปกติ ป๊าๆจะขายสินค้าถูกกว่าราคาป้ายของสินค้า เช่น นมผงติดราคาไว้กระป๋องละ 132 บาท ที่ร้านจะขายเพียง 125 บาท เป็นต้น และหากเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ๆ ที่ร้านจะใช้ตัวอักษรภาษาจีนซึ่งเป็นรหัสที่ใช้กันในร้านนี้เท่านั้น เขียนไว้บนตัวสินค้าว่า สินค้าชิ้นนี้ซื้อมาในราคาต้นทุนเท่าไร ซึ่งจะทำให้พวกเราเห็นต้นทุนของสินค้านั้นๆ เช่น นมผงกระป๋องนี้มีราคาต้นทุนเท่ากับ 110 บาท เป็นต้น ในกรณีนี้ก็จะทำให้ข้าพเจ้ามีกำไรจากการขายนมผงนี้เท่ากับ 15 บาท
หลังจากที่ข้าพเจ้าอยู่ช่วยขายของไปได้สักระยะหนึ่ง ก็เริ่มสงสัย และคิดว่าทำไมเราไม่ขายนมผงกระป๋องนี้ ในราคาเต็มไปเลย คือ 132 บาท ก็จะทำให้เราได้กำไรเพิ่มขึ้นอีก 7 บาท ทำให้ในครั้งต่อไปข้าพเจ้าก็ได้ขายนมกระป๋องกับลูกค้าอีกคนหนึ่ง ในราคา 130 บาท แต่ปรากฏว่าลูกค้าเขาก็สงสัยและถามกลับว่า “อ้าว ?? ไม่ใช่ 125 บาท หรือจ้ะ?? เคยซื้ออยู่ราคานี้นะ”
ข้าพเจ้าก็ตอบกลับว่า “ไม่ได้ครับ”
“ลองไปถามป๊าๆ ดูสิ” ลูกค้าตอบกลับ
ทำให้ข้าพเจ้าต้องเดินไปถามป๊าๆ พร้อมกับหยิบนมกระป๋องนั้น ไปถาม “ป๊าๆ อันนี้เท่าไรครับ”
ป๊าๆ ก็มองดูที่ใต้กระป๋องที่มีโค้ดภาษาจีนอยู่ แล้วบอกว่า “125 บาท” ข้าพเจ้าก็หยิบนมกระป๋องใส่ถุงหิ้วให้กับลูกค้า
เย็นวันนั้น ขณะกำลังนั่งกินข้าวเย็นกับป๊าๆ ป๊าก็ถามว่า “ลูกค้ามาซื้อของที่ร้านเราบอ่ยๆ เป็นเพราะอะไรรู้ไหม?”
“ไม่รู้ครับ”
“เป็นเพราะร้านของเราขายสินค้าราคาไม่แพง และมีของให้เลือกเยอะ ลูกค้าจึงกลับมาซื้อกลับเราบ่อยๆ อย่างเช่น นมกระป๋องที่วันนี้ขายไปนั้น ถ้าเราขาย 130 บาท จริงอยู่ที่จะได้กำไรมากถึง 20 บาท แต่ถ้าลูกค้ากินหมดแล้ว และไปซื้อร้านอื่น เราก็จะเสียลูกค้า และไม่ได้เงินจากเขาอีกนะ ในกรณีถ้าเราขายแค่ 125 บาท ได้กำไรแค่ 15 บาท แล้วลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้ง ก็จะทำให้เรามีกำไรอีก 15 บาท เป็นเท่าไรรู้ไหม?” ป๊าๆ ถามกลับ
“เป็น 30 บาทครับ” ข้าพเจ้าตอบ
“เห็นไหมว่ามันเยอะกว่าในตอนแรกที่เราได้แค่ 20 บาท ดังนั้นพ่อค้าอย่างเรา ควรมีคุณธรรมและจริยธรรมในการค้าขาย ให้มีกำไรแต่พอดี ไม่เอาเปรียบลูกค้า ซึ่งควรจะยึดหลักอิทธิบาท 4 คือ
· ฉันทะ คือ ความพอใจ ในฐานะเราเป็นพ่อค้าร้านขายของ มีกำไรพอเลี้ยงตัวเอง และชอบในการขายสินค้าให้ลูกค้า
· วิริยะ คือ ความพากเพียร ขยัน ทำมาหากิน ไม่ขาดตอนเป็นระยะเวลายาวนานเหมือนที่เปิดร้านให้ลูกค้ามาซื้อของตลอด 7 วันไม่มีหยุด
· จิตตะ คือ ความใส่ใจ ไม่ทอดทิ้งร้าน และทำด้วยใจจดจ่อ โดยสนใจในตัวลูกค้าและสินค้าที่ขาย
· วิมังสา คือ การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และทำให้ร้านค้าพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา
เหตุการณ์ในช่วงที่ข้าพเจ้าขายของ เพื่อเก็บกำไรมาซื้อของที่ข้าพเจ้าต้องการนั้น ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมมากกว่าการบวก ลบ ตัวเลขธรรมดา และมุ่งหวังแต่กำไรเยอะๆ แต่ข้าพเจ้าได้เข้าใจว่าการเป็นพ่อค้านั้น จะต้องยึดถือคุณธรรมและมีจริยธรรมในการค้าขายอีกด้วย ซึ่งข้าพเจ้าก็ยึดถือและนำมาปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตข้าพเจ้า ในปัจจุบันข้าพเจ้าได้มีโอกาสนั่งสมาธิกับเพื่อนๆ ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจถึง คุณธรรมของพรหมวิหาร 4
· เมตตา คือ ความรักความปรารถนาดีที่ให้เพื่อนร่วมงาน หรือผู้อื่นมีความสุข
· กรุณา คือ ความสงสาร เห็นใจปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นความทุกข์
· มุทิตา คือ ความรู้สึกพลอยชื่นชมยินดีเมื่อเพื่อนร่วมงาน หรือผู้อื่นได้ดี เจริญก้าวหน้า
· อุเบกขา คือ ความรู้สึกวางเฉย โดยปราศจากอคติ หรือสิ่งที่มายั่วยวน
หลักธรรมหรือคุณธรรม เหล่านี้พยายามนำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าทำงาน ทำให้ข้าพเจ้าทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น แม้ว่าในบางช่วงเวลาอาจจะหลงลืม หรือ มัวแต่จมอยู่กับปัญหา หรืองานที่รุ่มเร้าเข้ามาในบางช่วงเวลาของชีวิต แต่ถ้าเรามีสติ หรือมีสมาธิก็สามารถฟันฝ่าปัญหาหรืองานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น