การเป็นวิถีชุมชน

ประวัติความเป็นมา

            เริ่มพูดถึงที่อเมริกาใต้ ภายใต้คำว่า เทวศาสตร์แห่งการปลดปล่อย เป็นการตรึกตรองเทวศาสตร์ในมิติของสังคมและการเมือง  ภายหลังหลายกลุ่มพัฒนาเป็นองค์กรอิสระ โดยไม่ขึ้นกับพระศาสนจักรท้องถิ่น

            ต่อมาที่อัฟริกา มีการตรึกตรองเช่นกัน โดยมีกระบวนการ Lumgo

            ในเอเชียที่อินโดนีเซีย เมือง Bundung  1990 มีการใช้คำว่า The new way of being Church และมีการออกแบบหลักสูตรเรียกว่า AsIPA

เกิดอะไรขึ้นที่บันดุง
BEC 

(Basic Ecclesial community)
The New Way of BeingChurch

Bundung Indonesia

เอกสารจากที่บันดุงพูดถึงเรื่องต่อไปนี้

  • แนะนำให้กลับไปใช้จิตตารมณ์กลุ่มคริสตชนยุคแรกๆ
  • การถูกเรียกมาสู่การประกาศพระวรสาร ในรูปแบบใหม่
  • การสมานฉันท์กับพี่น้องต่างความเชื่อ ต่างศาสนา ในรูปแบบใหม่
  • การมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
  • การเอาใจใส่คนยากจน
  • the new movement มี พระวรสารเป็นศูนย์กลางของชีวิต
  • the new way of being Church คือ การชุมนุมกันเป็นสังคมที่มีรากฐานอยู่ที่พระคัมภีร์
  • ตั้งกลุ่มวิถีชุมชนวัดโดยใช้กระบวนการAsIPA เพื่อสร้าง Bec เพื่อพัฒนาพระศาสนจักรในทุกระดับ ทั้งสภาภิบาล

เป้าหมายของพระศาสนจักร

  • The new way of being Church การเป็นพระศาสนจักรในรูปแบบใหม่ คือ
  • การที่คริสตชนทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานพระศาสนจักร
  • เพื่อที่จะเป็น พระศาสนจักรรูปแบบใหม่ พระศาสนจักรแนะนำให้ฟื้นฟูคริสตชนเป็นกลุ่มย่อย วิถีชุมชนวัดBec, Scc
  • ในแต่ละกลุ่มย่อย ใช้กระบวนการ AsIPA เป็นเครื่องมือฝึกฝนอบรม หล่อเลี้ยงลุ่มย่อยด้วยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธ์
  • AsIPA เป็นหลักสูตรที่ประกอบด้วยหนังสือ 4 ภาค ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่มีชื่อเสียงที่สุดคือการแบ่งปันพระวาจา 7 ขั้นตอน

AsIPA ย่อมาจากอะไร

Advertisement

As = Asian     โปรมแกรมนี้ได้รับการออกแบบในแวดวงของชาวเอเชีย

I = Integral     เป็นการรวบรวมสรรพความรู้มาร่วมกัน

P = Pastoral   เป็นแง่มุมเกี่ยวกับงานอภิบาล

A = Approach           เป็นวิธีการที่เป็นกระบวนการ

วิถีชุมชนวัด จำเป็นต้องชุมนุมกันในละแวกบ้าน

  • BEC เป็นเซลล์ย่อย เป็นวัดย่อย ของวัดของเรา
  • เป็นพระศาสนจักรที่กำลังทำพันธกิจของตนในละแวกบ้านของเรา
  • การรวมกลุ่มละแวกบ้านจึงเป็นการปรากฏอย่างแท้จริงของพระศาสนจักร เพราะเราจะรู้ปัญหาของละแวกบ้านของเรา เป็นหู เป็นตา เป็นเท้า ฯ ของวัดอย่างแท้จริง
  • พระศาสนจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นจริงเมื่อชุมนุมกันในละแวกบ้าน
  • การชุมนุมกันละแวกบ้านจึงไม่ใช่กลุ่มศรัทธา กลุ่มองค์กรพิเศษ แต่เป็นวัดย่อยของวัดของเรา
  • การชุมนุมกันละแวกบ้านเป็นประจำ จะมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเรา 
  • ผู้รับศีลล้างบาปทุกคนเป็นสมาชิกของ BEC เหมือนเด็กที่เกิดมาในครอบครัว  เราผูกพันกันร่วมสุข ร่วมทุกข์รับผิดชอบทุกอย่างในชุมชน

ความสัมพันธ์กันระหว่าง Bec กับสภาภิบาลวัด

  • พระศาสนจักรพบความยากลำบากในการให้คำสอนที่ถูกต้อง ลึกซึ้งกับบรรดาสัตบุรุษ เป็นต้นเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ของตนซึ่งเป็นผู้รับศีลล้างบาป
  • สภาภิบาลจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำถึงบทบาทหน้าที่ของคริสตชน โดยอาศัยการชุมนุมกันใน BEC นี่เอง
  • สภาภิบาลช่วยให้สมาชิกในชุมชนรับใช้กันและกัน และสร้างสำนึกเรื่องพระศาสนจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่เพียงสมาชิกสภาภิบาลเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น
  • ที่สุดสภาภิบาลมาจากผู้นำกลุ่ม Becs ต่างๆ เขารู้และเป็นตัวแทนกลุ่มละแวกบ้านที่เขาเป็นสมาชิกอยู่
  • ดังนี้เองสภาภิบาลจึงเป็นการแสดงออกถึงพระศาสนจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเด่นชัดที่สุด

ความสำคัญของ Bec และกลุ่มอื่นๆ

  • ในอดีต เมื่อคริสตชนคนหนึ่งอยากจะช่วยงานวัด ก็จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์กรหนึ่งในวัด
  • องค์กรต่างๆ ในวัดมีจิตตารมณ์ เฉพาะตามแต่ผู้ก่อตั้งกำหนด เป็นกระแสเรียกพิเศษที่ช่วยทำให้วัดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • โดยพื้นฐานคริสตชนทุกคนเป็นสมาชิก BEC รวมทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกในองค์กรต่างๆ ด้วย
  • คริสตชนบางคนไม่สามารถเข้ากลุ่มองค์กรได้ แต่เขายังไม่ถูกตัดขาดจากชุมชน เนื่องจาก
  • แม้แต่คนที่รับศีลมหาสนิทไม่ได้ ด้วยเหตุใดก็ตามก็เป็นสมาชิก BEC
  • ใน BEC ทุกคนสามารถมีสิทธิ์และมีส่วนร่วมทำงานให้วัดได้
  • BEC  จึงเป็นตัวเชื่อมระหว่างวัด-ครอบครัว กับชุมชนในวัดนั้นๆ
  • ทุกคนที่รับศีลล้างบาปเป็นวิถีชุมชนวัด บางคนได้รับพระพรพิเศษจึงเข้าเป็นสมาชิกองค์กรพิเศษ
  • วิถีชุมชนวัดไม่ใช่องค์กรพิเศษ
  • วิถีชุมชนวัดแตกต่างจากชุมชนเข้มแข็งของภาครัฐ
  • วิถีชุมชนวัดเป็นจิตวิญญาณของคริสตชนทุกคนทั้งฆราวาสและพระสงฆ์นักบวช

ลักษณะที่สำคัญของ BEC

  1. ทุกคนที่รับศีลล้างบาปเป็นสมาชิกของ BEC
  2. เป็นชุมชนที่มีพระคริสตเจ้า เป็นศูนย์กลางในการดำเนินชีวิตประจำวันผ่านทางพระวาจา และศีลศักดิ์สิทธิ์
  3. เป็นชุมชนที่มีความเป็นพี่น้องกัน และทุกคนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกันตามหน้าที่ของตน
  4. เป็นชุมชนที่สัมพันธ์แนบแน่นกับวัด

ชุมนุมกันในละแวกบ้าน

  1. เป็นการชุมนุมของคนที่อยู่ในพื้นฐานเดียวกัน มีปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาส่วนรวมเดียวกัน
  2. พวกเขาชุมนุมกันในบ้านของสมาชิก สับเปลี่ยนกันเพื่อตอกย้ำความเป็นเจ้าของชุมชนซึ่งมีพื้นฐานและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เป็น civilization of love

การแบ่งปันพระวาจา

  1. พระวาจาของพระเจ้าเป็นศูนย์กลางในการประชุม และดำเนินชีวิต
  2. ใช้วิธี 7 steps และวิธีการอื่นๆ ในการแบ่งปันพระวาจา เช่น Lectio Divina, Group Response, Amos Programme
  3. โดยการแบ่งปันพระวาจา สมาชิกได้รับการหล่อเลี้ยงจากพระเจ้า เติบโตฝ่ายจิต และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะคริสตชนที่แท้จริง

ตามที่พ่อได้เขียนไว้ในสารอัครสังฆมณฑลฯ เดือนมกราคมว่า “เรามีเครื่องหมาย 4 ประการเป็นการบ่งชี้ถึงความเป็นคริสตชนย่อยหรือวิถีชุมชนวัด (BEC) คือ

1. สมาชิกเป็นเพื่อนบ้านกัน

2. การแบ่งปันพระวาจาเป็นพื้นฐานของการพบปะกัน

3. การแสดงออกและทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันของชุมชนคริสตชนย่อยออกมาจากความเชื่อ และ

4. ชุมชนคริสตชนย่อยต้องเชื่อมเข้ากับพระศาสนจักรสากล”

.ที่พ่อกล่าวดังนี้ เพราะ การมารวมตัวกันของคริสตชนกลุ่มย่อย
หากขาดข้อ 3 กลุ่มก็เป็นเพียงกลุ่มสวดภาวนา เท่านั้น
หากขาดข้อ 4 กลุ่มก็เป็นเพียงคริสตจักรอีกนิกายหนึ่ง เท่านั้น
หากขาดข้อ 1 กลุ่มก็เป็นเพียงสมาคมหรือกลุ่มกิจกรรมพิเศษไป
และ หากขากข้อ 2 กลุ่มก็เป็นเพียงกลุ่มทำงาน ทั่ว ๆ ไป เช่นกัน