แกะรอย บจ. ถูกสั่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ รายย่อยกว่า 3 หมื่นรายติดหุ้น!
ข้อมูลจาก : สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -3 ก.ค. 60
หลังจากหุ้นร้อนอย่าง บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ EARTH) และ บมจ.โพลาริส แคปปิตัล POLAR) ถูกตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามการซื้อขาย และสำนักงานคณะกรรมกรกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต.) สั่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ (Special Audit) พานักลงทุนรายย่อยรวมกว่า 2 หมื่นราย ติดกับดัก และเกิดคำถามว่า "เมื่อไหร่" หุ้นจะกลับมาเทรดได้อีกครั้ง
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูล บจ. ที่ถูก ก.ล.ต. สั่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีทั้งหมด 9 บริษัท แบ่งเป็นที่เคลียร์ตัวเองสำเร็จและปลด SP ให้ซื้อขายได้แล้ว 5 บริษัท ถูกเพิกถอนจากการเป็น บจ. 1 บริษัท และยังถูก SP จนถึงปัจจุบันอีก 3 บริษัท รวมรายย่อยที่ติดหุ้นอยู่กว่า 1.3 หมื่นราย ซึ่งหากรวม EARTH และ POLAR เท่ากับว่ามีนักลงทุนรายย่อยกว่า 3.3 หมื่นราย หรือประมาณ 10% ของบัญชีหุ้นทั้งหมดที่ Active ที่ต้องติดหุ้นแบบไม่รู้ชะตากรรม
** 10 ปีโดนไป 11 บจ.
จากการตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต.) พบว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียน บจ.) จำนวน 11 บริษัทถูกสั่งให้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีกรณีพิเศษ (Special Audit) ประกอบด้วย
1.บมจ.เอบิโก้ โฮลดิ้งส์ ABICO) ตรวจสอบความคลุมเครือและไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ABICO กับบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งและบริษัท พีพีโอ ฟาร์ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วม
โดย ABICO ได้เปิดเผยว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทดังกล่าวและไม่ได้มีอำนาจควบคุมในบริษัทดังกล่าว แต่ปรากฏว่า ABICO และบริษัทย่อย มีรายการธุรกิจกับบริษัททั้งสองแห่งอย่างเป็นสาระสำคัญ ตลอดจนกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งสองมีสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ABICO
2.บมจ.เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส SECC) ตรวจสอบเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของทรัพย์สิน หนี้สิน ใบหุ้นของ SECC รวมถึงการขายและโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์และอาจมีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของ SECC หลังพบว่าบริษัท เอสอีซีซี โฮลดิ้ง จำกัด SECC Holding) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น 4 ราย จำนวนรวม 245 ล้านบาท แต่ SECC Holding มิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน แต่ให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลในจำนวนเงินสูง ทำให้ SECC Holding มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับชำระหนี้คืน และจะกระทบต่อ SECC ให้ได้รับความเสียหายได้
3.บมจ.จี สตีล GSTEEL) และบมจ.จี เจ สตีล GJS) ตรวจสอบรายการขายเชื่อสินค้าและรายการซื้อเครื่องจักรของ GSTEEL และ GJS ซึ่งเป็นบริษัทย่อย หลังผู้สอบบัญชีของ GSTEEL และ GJS รายงานผลการสอบทานงบการเงินไตรมาส 3/52 ว่า 1.ถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานโดยผู้บริหารของ GSTEEL และ GJS ในประเด็นการอนุมัติสินเชื่อและการจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อหักกลบกับลูกหนี้ที่ผิดนัด 2.ถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานโดยสถานการณ์ในประเด็นการตั้งค่าเผื่อการลดมูลค่าของวัตถุดิบที่เสื่อมสภาพของ GSTEEL และ 3. ความไม่แน่นอนของมูลค่างานระหว่างก่อสร้างซึ่งไม่มีความคืบหน้า และเงินจ่ายล่วงหน้าค่าเครื่องจักรซึ่งเกินกำหนดชำระเงินและส่งมอบเครื่องจักรตามสัญญาของ GSTEEL จึงทำให้มีความคลุมเครือและไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความถูกต้องตามควรของการบันทึกบัญชี
4.บมจ.นิปปอนแพ็ค ประเทศไทย) NIPPON) ให้ตรวจสอบงบการเงิน หลังกล่าวโทษนายวิชัย ชัยสถาพร ประธานกรรมการ เกี่ยวกับยักยอกทรัพย์สินของบริษัทรวมเป็นเงินประมาณ 179.6 ล้านบาท และยังได้ปลอมแปลงเอกสารและลงบัญชีเป็นเท็จ เพื่อให้แน่ใจว่างบการเงินของบริษัทแสดงฐานะการเงินที่แท้จริงและไม่มีรายการอื่นที่เป็นการทุจริตที่จะกระทบต่อสิทธิของผู้ลงทุน
5.บมจ.บลิส-เทล BLISS) ตรวจสอบการว่าจ้างโฆษณามูลค่า 29.9 ล้านบาท โดยชำระค่าโฆษณาด้วยเช็คเงินสดผ่านการเบิกเงินทดรองจ่าย หลังผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่อรายงานการสอบทานงบการเงินไตรมาส 3/53 ไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในมูลค่าของค่าโฆษณาว่าเป็นไปตามราคาตลาดหรือไม่ และไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในจำนวนครั้งของการลงโฆษณาทั้งทางออนไลน์และทางรายการโทรทัศน์ตามที่ระบุในสัญญา จึงทำให้มีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการว่าจ้างโฆษณาและความสมเหตุสมผลของการทำรายการ ขอขยายเวลา
6.บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ THL) ตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินงานภายในของ THL หลายประเด็น ได้แก่ 1.การนำทรัพย์สินไปวางเป็นหลักประกันเพื่อขอทุเลาการบังคับคดีให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง 2.การกู้ยืมเงินจากบริษัทที่เกี่ยวข้องและจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง 3.การทำรายการอื่นกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง 4.ระบบการควบคุมดูแลทรัพย์สินของบริษัท และ 5.ระบบการบริหารจัดการภายใน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของการบริหารจัดการและระบบควบคุมภายในที่ดีและอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการทำรายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง
7.บมจ.มิลล์คอน สตีล MILL) ตรวจสอบรายการซื้อขายกับพันธมิตรทางการค้าและประเด็นการลดสัดส่วนการลงทุนในบริษัท มิลล์เลี่ยน ไมล์ส
8.บมจ.เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ KC) ตรวจสอบการออกตั๋วแลกเงิน การรับและจ่ายเงินที่เกี่ยวข้อง และระบบการบันทึกบัญชี และตรวจสอบตามประเด็นที่ผู้สอบบัญชีของ KC มีข้อสงสัยเกี่ยวกับธุรกรรมซื้อขายที่ดินว่าเป็นไปตามปกติของธุรกิจหรือไม่
9.บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ EARTH) ตรวจสอบการทำรายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าและเงินจองสิทธิในการซื้อสินค้า ซึ่งรายการดังกล่าวมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากปี 58 อย่างมีนัยสำคัญ ถึง 58% และมียอดคงเหลือ ณ สิ้นงวดไตรมาส 1/60 คิดเป็น 45% ของสินทรัพย์รวม
10.บมจ.โพลาริส แคปปิตัล POLAR) ตรวจสอบที่มา ความมีอยู่จริง ความครบถ้วนในการบันทึกบัญชี และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของหนี้สินตามที่แจ้งไว้ในคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
โดยบริษัทส่งงบการเงินงวดสิ้นปี 59 ต่อ ก.ล.ต.ว่ามีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก 4,580 ล้านบาท แต่แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลท.) ว่ามีหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนแล้ว รวมทั้งสิ้น 5,718 ล้านบาท ซึ่งอาจมากกว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยข้อมูลหนี้สินที่บริษัทเปิดเผยในงบการเงินแตกต่างจากมูลหนี้ในคำร้องขอฟื้นฟูกิจการอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหากข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนได้
***นักบัญชีชี้เป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องติดตามใกล้ชิด
ดร.ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ กรรมการสภาวิชาชีพบัญชีฯ เผยว่า การสั่งให้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ทุกครั้งจะเป็นประเด็นที่สำคัญมากและมีนัยซึ่งอาจจะกระทบต่อธุรกิจของบริษัทและผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
"จะเห็นได้ว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีบริษัทที่ถูกสั่งตั้ง Spacial Audit เพียง 11 รายเท่านั้น แต่ทุกรายเป็นกรณีที่สำคัญ ผู้ถือหุ้นไม่สามารถละเลยได้ จะเห็นได้ว่าจากกรณีที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับงบการเงินที่อาจจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของบริษัทหรือบางรายก็ถูกห้ามซื้อขายเป็นเวลานานและยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการกลับมาเทรดได้"
***แจงไม่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีหลัก
ดร.ธีรชัย กล่าวต่อไปว่า กรณีการตั้งผู้สอบบัญชีพิเศษ ต้องแยกเป็นคนละประเด็นกับผู้สอบบัญชีหลักของบริษัท ไม่เกี่ยวข้องกัน
"ถามว่าเป็นการตบหน้าผู้สอบบัญชีหลักของบริษัทไหม ต้องตอบเลยว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะไม่มีผู้สอบบัญชีรายไหนตรวจสอบรายละเอียดของบริษัทได้ 100%
ส่วนใหญ่การตั้ง Special Audit มักเกิดจากการตรวจพบความผิดปกติหรือความไม่ชัดเจนจาก ก.ล.ต. หรือบางครั้งอาจจะมีผู้ถือหุ้นร้องเรียนเข้ามามาก ๆ ทำให้ต้องสั่งให้มีการตรวจเฉพาะประเด็นโดยละเอียด
ต่างกับการตรวจสอบงบการเงินทั่วไป คืองบการเงินนั้นจะตรวจสอบตามมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีและทางผู้สอบจะแสดงความเห็นกับงบการเงินว่าได้จัดทำถูกต้องในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่ได้รับการรับรองทั่วไปหรือไม่ ซึ่งทางบริษัทต้องมีการจัดให้มีการตรวจสอบทุกปี และมีการสอบทานตัวเลขทางการเงินทุกไตรมาส"
เช่นเดียวกับ "ปริย เตชะมวลไววิทย์" ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการและสื่อสารองค์กร ก.ล.ต. ที่ระบุว่า การสั่งให้มีการทำ special audit มีเพื่อให้มีการตรวจสอบให้เกิดความชัดเจนในประเด็นที่สงสัย ซึ่งวิธีการทำงานก็จะต่างกับการตรวจรับรองงบการเงินทั่วไป เพราะฉะนั้นการสั่ง special audit ไม่ได้หมายความว่า ผู้สอบบัญชีรายเดิมบกพร่องในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด โดยทั่วไปจะทำโดยผู้สอบบัญชีที่ไม่ใช่ผู้สอบฯ ที่เซ็นงบ
***ส่งรายงาน Special Audit ไม่ทันกำหนดมีโทษ
ขณะที่หากบริษัทใด ๆ ไม่สามารถส่งรายงานการสอบบัญชีพิเศษได้ทันกำหนด ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ จะถูกลงโทษตามมาตรา 274 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูลและการชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 56 มาตรา 57 หรือ มาตรา 58 1) หรือ 3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทใดไม่มาชี้แจงตามมาตรา 58 2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ที่ผ่านมามีเพียงบริษัทเดียวที่ไม่ส่งรายงานการสอบบัญชีพิเศษ คือ บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ THL) ซึ่ง ก.ล.ต.ก็ได้กำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายกับ THL และผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของ THL
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ถูกสั่งให้สอบบัญชีพิเศษ สามารถขอขยายเวลาการรายงานผลได้ตามเหตุผลที่สมควร ซึ่งที่ผ่านมาเกือบทุกรายได้ขอขยายเวลาทั้งสิ้น และก็ได้รับการอนุมัติ มีเพียง THL ที่ถูกปฏิเสธ เนื่องจากไม่ได้ดำเนินการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบเป็นกรณี
"ปริย เตชะมวลไววิทย์" เสริมว่า สำหรับผลลัพธ์จากการทำ special audit อาจออกมาได้เป็น 2 แนวทาง ทางแรก คือ ไม่พบการทำความผิด ทางที่สอง คือ บริษัทจดทะเบียนมีการทำความผิดจริง ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ มักตามมาด้วยการที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้บริหาร หรือสั่งให้บริษัทจดทะเบียนแก้ไขงบการเงินในที่สุด ดังนั้น การสั่งทำ special audit นอกจากเป็นไปเพื่อทำให้ความจริงชัดเจนแล้ว ยังอาจถือเป็นสัญญาณที่ส่งออกมาจากหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อบอกผู้ลงทุนให้จับตามองว่าบริษัทจดทะเบียน มีประเด็นที่น่าสงสัยในเรื่องใดเป็นพิเศษหรือไม่พิเศษ
***จับสัญญาณ บจ.เข้าข่ายถูกสั่งสอบบัญชีพิเศษ
นักวิชาการด้านบัญชี เผยให้ฟังว่า สัญญาณอันตรายของบริษัทที่จะถูกสั่งให้ทำ Special audit มีดังนี้
1.ผู้สอบบัญชีหลักรายงานงบการเงินถูกต้องแต่มีเงื่อนไขบางเรื่อง
2.งบการเงินถูกต้องแต่มีข้อสังเกตบางเรื่องที่ผู้สอบบัญชีอยากเน้นให้ระวัง เช่น รายได้หลักหรือส่วนใหญ่ของบริษัทมาจากคู่ค้าเพียงรายเดียวเท่านั้น
3.ผู้สอบบัญชีไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือติดข้อจากัดบางประการ
4.ผู้สอบบัญชีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
"ส่วนใหญ่ความเห็นของผู้สอบบัญชีนี่แหละที่จะเป็นหนึ่งในตัวจุดประกายให้ ก.ล.ต. เริ่มสะกิดใจและตามดูต่อไป ว่ามีอะไรที่น่าสงสัยเกี่ยวกับงบการเงินนั้นหรือไม่ ซึ่งนอกจากความเห็นของผู้สอบบัญชีแล้ว สัญญาณอีก 2 แบบที่ช่วยให้ ก.ล.ต. สังเกตความผิดปกติของบริษัทก็มาจาก การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับบริษัท และ ข้อมูลต่าง ๆ ในงบการเงิน"
***ตรวจสถานะ บจ.ถูก Special audit
สำหรับสถานภาพของกลุ่มบริษัทที่ถูกสั่งให้สอบบัญชีพิเศษ จำนวน 11 บริษัท ปัจจุบัน มี 1 ที่ถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์คือ SECC
ขณะที่มี 3 รายยังคงถูกห้ามซื้อขาย ได้แก่ THL ที่ถูก SP ตั้งแต่ปี 54 , BLISS ที่ถูก SP ตั้งแต่ปี 55 และ , KC ที่ถูกขึ้น SP ตั้งแต่ปี 58
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น