2559/12/01

การประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ ที่วาติกัน.. พูดถึง GEN Y ได้น่าคิดและนำไปปฏิบัติ

เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ การประชุมดีๆ ที่วาติกัน...
จึงขอนำมาลงในที่นี้..

การประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ
Business Leaders an Agents of Economic and Social Inclusion
จัดที่ New Synod hall นครวาติกัน
ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2559
จัดโดยสมณกระทรวงยุติธรรมและสันติ และ Uniapac
(ชมรมนักธุรกิจคริสตชนระดับโลก)

การประชุมนี้เพื่อสนองตอบสมณสาร Evangelii Gaudium และ Laudato Si
โดยผู้เข้าร่วมการประชุม ประมาณ 450 คน จาก 41 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ พระสังฆราช และพระสงฆ์จานวนหนึ่ง

เนื้อหาหลัก ๆ สรุปได้ดังนี้
ธุรกิจ (การทำมาค้าขาย) เป็นกระแสเรียกที่สูงส่ง นำมาซึ่งการสร้างความมั่งมี (Wealth) พัฒนาโลกให้ดีขึ้นและสร้างอาณาจักรของพระเจ้า ประเด็นใหญ่คือ ต้องเสาะหาวิธีที่จะให้มนุษย์แต่ละคนได้ร่วมรับประโยชน์ เช่น กลุ่มต่างๆ ในสังคม และเศรษฐกิจที่ถูกละเลยจากระบบสวัสดิการและการพัฒนา เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งที่ทุกคนมีส่วนร่วม
การทำหน้าที่การงาน (Work) นั้น ต้องเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อความบริบูรณ์ในชีวิตของแต่ละคนและครอบครัว เพื่อธุรกิจหรือวิชาชีพ แต่ควรต้องมีความสมดุลระหว่างบริษัทใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งระยะกลางและระยะยาว
การผลิตสินค้าที่ดีมีประโยชน์ มีกระบวนการผลิตและการบริหารงานที่ดี นำมาซึ่งความมั่นคั่งที่ดีและยุติธรรม เป็นความมั่งคั่งที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Common good)
ระบบทุนและการเงินต้องใช้สาหรับการสร้างเศรษฐกิจแท้ (โดยผลิตสินค้าและบริการ) และไม่ใช้เงินในการเก็งกำไร ต้องเน้น Impact Investing (หรือที่เรียกกันว่า Capital 2.0) คือ การลงทุนต้องวัดไม่แค่ผลตอบแทนการลงทุนจากเกณฑ์การเงิน (IRR) เท่านั้น แต่ต้องวัดผลตอบแทนแก่สังคมและผลตอบแทนต่อสิ่งแวดล้อมด้วย และดังนั้นเงินจึงมีความหมายที่ดี (ต่อชีวิตคริสตชน) และเมื่อเงินถูกใช้ไปในการสร้างสิ่งดี ๆ และพัฒนาความเจริญของโลก สุดท้ายก็จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินที่ดี

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง ที่เสนอในการประชุม
ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว (Work-Life balance) โอกาสในการทำงาน โอกาสที่พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรให้มีธรรมาภิบาล (Good governance)  โอกาสของสตรีในงานและการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน มีการพูดถึงเยาวชนรุ่นใหม่ (Gen Y) ซึ่งมักจะเปลี่ยนงานทุกๆ 2-3 ปี ซึ่งเป็นปัญหาของผู้จ้างงาน แต่จากการศึกษาพบว่า เยาวชนเหล่านี้ต้องการทำงานที่มีความหมายต่อสังคม เขาจะทำงานด้วยความมุ่งมั่น (Passion) ต้องการเป็นหุ้นส่วน และต้องการความใส่ใจ (Care for people) ซึ่งหากเข้าใจเขาดีพอ เขาจะเป็นผู้ร่วมงานที่มีคุณค่าอย่างมาก
ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เหนือความรับผิดชอบต่อสังคม (Beyond Corporate Social Responsibility) จำต้องเริ่มภายในจากทุกฝ่ายงานของบริษัท ที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social innovation) เพื่อวางแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติที่ชัดเจนที่จะให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดได้รับประโยชน์จากกิจการของบริษัท

ตัวอย่างที่ดีที่ได้นำมาแบ่งปันบางเรื่อง
  บริษัทขนส่ง (Logistic) ขนาดใหญ่อันดับ 3 ของประเทศสหรัฐอเมริกา รับคนพิการทุกประเภทเข้ามาทำงานมากถึง 1/3 ของพนักงานทั้งหมด  และเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีผลกำไรดี ทั้งนี้ผู้บริหารของบริษัทเชื่อในศักยภาพของคนทุกคน และสามารถปลุกจิตสานึกของพนักงานทุกคนให้ช่วยเพื่อนพนักงานให้ได้ดีที่สุด ซึ่งผลก็คือ ไม่เพียงแต่คนพิการสามารถทำงานได้ไม่แพ้คนปกติ นอกเหนือจากนั้นพนักงานรักกันและเอาใจใส่ต่อกันและกัน เป็นบริษัทที่ทุกคนมีความสุขในการทำงาน
 บริษัทจำหน่ายสุขภัณฑ์และเซรามิคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้ปรับการว่าจ้างพนักงานขนส่ง ให้เป็นผู้รับจ้างงาน โดยบริษัทจัดหารถขนส่ง วัสดุอุปกรณ์ รวมที่พักให้กับครอบครัว และผู้รับจ้างได้รับค่าจ้างมากน้อยตามงานที่ทำ นำครอบครัวมาช่วยงานได้ เป็นการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงการตั้งวิทยาลัยอาชีวะทางด้านอาชีพเซรามิค โดยให้ลูกๆผู้รับจ้างงานและเยาวชนที่ขัดสนและสุ่มเสี่ยงต่อสภาพสังคมได้เรียนฝึกอาชีพโดยไม่คิดค่าเล่าเรียน มีที่พักให้ และนักศึกษายังสามารถรับจ้างงานในวันหยุด รวมทั้งจัดหางานให้ผู้จบการศึกษา เป็นการให้โอกาสอาชีพแก่เยาวชน และการฝึกอบรมเยาวชนให้เป็นคนมีคุณธรรม

ข้อคิดจากจิตตาภิบาลของ Uniapac
พระเยซูคริสตเจ้าได้นำมนุษย์ทุกคนให้คืนดีกับพระเจ้า (Reconcile)  พระองค์นำความรอดมาสู่มวลมนุษย์ และดังนั้นมนุษย์ต้องเจริญชีวิตตามแบบฉบับของพระองค์
การบริหารธุรกิจแบบทุกคนได้ประโยชน์ (Inclusive) เป็นเรื่องยากและเป็นไปไม่ได้ ถ้าเรายังมีความคิด  และความสัมพันธ์ระดับเพื่อนมนุษย์ แต่เป็นไปได้เมื่อนักธุรกิจมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างแท้จริง

ข้อเตือนใจจากพระสันตะปาปาฟรังซิส (เมื่อผู้เข้าประชุมเข้าเฝ้า)
 ธุรกิจต้องไม่สร้างขึ้นเพื่อหาเงิน ทำกำไร (Make money) แม้ว่าเงินหรือกำไรเป็นเครื่องมือทำให้ธุรกิจอยู่รอด ธุรกิจต้องสร้างขึ้นเพื่อรับใช้
 นักธุรกิจต้องทำให้กิจการส่งเสริมความดีส่วนรวม (Common good)

สรุปโดย :
คุณประจวบ ตรีนิกร
(ชมรมนักธุรกิจคาทอลิก)

ไม่มีความคิดเห็น: